วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

KM การจัดการความรู้ Taciit knowledge/Explicit knowledge

การจัดการความรู้ คืออะไร ?

สำหรับกระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาของความรู้

ความหมายของการจัดการความรู้



การจัดการความรู้ ( Knowledge Management - KM ) คือ การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย ปัจจัยความอยู่รอดขององค์กร
- ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
- ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
- ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์กร
- ผู้นำองค์กร มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี คือ วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า

ประเภทของความรู้

1. ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการวิจัย จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
2. ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ กลายเป็นความชำนาญ เชี่ยวชาญ จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล

เปรียบเทียบระหว่างความรู้ 2 อย่าง

ExlicitTacit
วิชาการ หลักวิชาภูมิปัญญา เคล็ดวิชา
ทฤษฎีปฏิบัติ ประสบการณ์
มาจากการวิจัย การสังเคราะห์มาจากวิจารณญาณ การใช้ปฏิภาณ ไหวพริบ
เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการผ่านการพิสูจน์เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน

ถ้าหากเปรียบความรู้ระหว่าง 2 อย่างนี้ ดังเช่นภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ
Explicit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ มีเพียงนิดเดียวที่คนทั่วไปมองเห็น เพราะเป็นส่วนที่เห็นชัดเจน มองง่าย
Tacit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ เป็นก้อนใหญ่โตมหึมาหลบอยู่ใต้น้ำ คนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเปรียบเสมือนประสบการณ์ของคน ที่ซึมซับ ฝังลึกอยู่ในตัวคนมากมาย ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายทอดออกมา คนอื่นๆที่ไม่มีความรู้ หรือรู้ไม่เท่าทัน ก็ไม่สามารถนำความรู้ที่ดีๆนั้นมาใช้ได้

ความรู้ในองค์กรมี 2 ชนิด คือ

1. ความรู้ส่วนบุคคล ( Personnel Knowledge ) คือ ความรู้ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ซึ่งได้จากการปฏิบัติงาน แต่บางคนจะหวงความรู้ และไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่น หรือการถ่ายทอดจะถ่ายให้เพียงบางส่วน และจะกั๊กความรู้ไว้บางส่วน
2. ความรู้ขององค์การ ( Organization Knowledge ) คือ ความรู้ที่บุคคลปฏิบัติงานอยู่กับองค์การมานาน จนกระทั่งมีความชำนาญ ดังนั้น หากบุคคลลาออกจากองค์การ หรือ เกษียณอายุ ความรู้ของงานก็จะหายไปจากองค์การ เพราะไม่มีการบันทึกสาระสำคัญของงานเอาไว้ ดังนั้นงานที่สำคัญๆจึงควรต้องบันทึกและต้องจัดเก็บไว้เป็นระบบ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ ให้สามารถปฏิบัติงานขององค์การไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการชะงักของงาน และไม่เกิดความเสียหายต่อองค์การ

โมเดล ปลาทู


การเรียนรู้เกี่ยวกับ KM สำหรับผู้ที่เริ่มทำความเข้าใจหรือเริ่มเรียนรู้ใหม่ นักวิชาการได้เปรียบเทียบ KM เป็นโครงสร้างเหมือน ปลาทู ตัวหนึ่ง หรือ ที่เรียกว่า โมเดลปลาทู นั้นเอง โดยเปรียบเทียบ ว่า ถ้า KM เป็น ปลาทู ขอให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วน Knowledge Vision เปรียบได้กับ หัวปลา
ส่วน Knowledge Sharing เปรียบได้กับ ตัวปลา
ส่วน Knowledge Asset เปรียบได้กับ หางปลา
ส่วนหัวปลา หมายถึง Knowledge Vision ( KV ) ก็คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการตอบคำถามว่า ประเด็น ที่เราสนใจนำมาจัดการความรู้นั้น เป็นประเด็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์การอย่างไร เพราะถ้าหยิบมาผิดประเด็นไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ก็แสดงว่า ปลาตัวนี้กำลัง “หลงทิศ” กำลังว่ายน้ำไปผิดทาง ซึ่งผู้บริหารที่จะมาทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง KM นี้ ต้องคอยสอดส่องดูแล คอยแนะนำ อย่าให้ปลาว่ายไปผิดทาง ซึ่งคำถามที่สำคัญ ที่จะต้องตอบให้ได้ ก็คือ “เรากำลังจะทำ KM ไปทำไม เรากำลังจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร”
ส่วนตัวปลา หมายถึง Knowledge Sharing ( KS ) เป็นส่วนที่สำคัญ เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Share & Learn ) ถือได้ว่าเป็น หัวใจ ของการทำ KM เป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ไปให้ผู้อื่นนั้น ต้องอาศัยความผูกพัน การเป็นมิตร ความสนิทชิดเชื้อ ความไว้วางใจ ความห่วงใยต่อกันและกัน กระบวนการนี้จึงต้องเริ่มต้นที่การทำกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยก่อนเป็นลำดับแรก และบรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี ควรเป็นบรรยากาศที่สบายๆ มีความเป็นกันเอง ไม่เกร็ง ไม่เครียด และไม่เป็นทางการมากนัก กลุ่มแลกเปลี่ยนควรเป็นกลุ่มเล็กๆ ควรใช้วิธีการเล่าเรื่อง ที่เกิดขึ้นจริง โดยผลัดกันเล่าความสำเร็จ ความภูมิใจ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของความสำเร็จต้องเล่าให้ละเอียดว่าเพราะอะไรจึงทำให้ได้รับความสำเร็จ หรือถ้าเป็นปัญหาควรบอกด้วยว่าสุดท้ายแล้วสามารถแก้ปัญหาผ่านไปได้อย่างไร และการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อ ผู้ฟัง “เปิดรับฟัง” ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่มีอคติ และคิดอย่างมีระบบ
ส่วนหางปลา หมายถึง Knowledge Asset ( KA ) คือ คลังความรู้ ซึ่งเปรียบเสมือน “ถัง” ที่เรานำเอาความรู้มาใส่ไว้ แล้วใช้ระบบการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อผู้ใช้ประโยชน์สามารถนำเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งความรู้ที่มีอยู่ในคลังนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ1. เป็นการบันทึกในลักษณะเรื่องเล่า หรือคำพูดที่เร้าใจ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ เกิดแรงบันดาลใจ ความรู้ในลักษณะนี้ จะเป็นความรู้แบบ Tacit Knowledge
2. เป็นการบันทึกความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้ แบบ Explicit Knowledge
3. เป็นส่วนของความรู้ที่อ้างอิงจากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของเอกสาร การอ้างอิงถึงตัวบุคคล ผู้รู้ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการ ที่ เรียกว่า References

ปัญหาของการจัดการความรู้

1. การขาดความไว้วางใจต่อกันและกันของบุคลากร ทำให้เกิดความระแวง ทำให้งานขององค์การไม่ก้าวหน้า
2. การขาดความร่วมมือของบุคลากร ทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จ
3. การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์การ ทำให้บุคลากรทำงานให้กับองค์การไม่เต็มความสามารถ

กลยุทธ์ในการจัดการความรู้

1. ต้องสร้างคลังความรู้ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรเพื่อให้มีการจดบันทึกสาระสำคัญของงาน แล้วจัดเก็บเป็นคลังความรู้
2. สร้างสังคมเวทีแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องให้เวลากับบุคลากรให้มีโอกาส พูดคุย สนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
3. กำหนดเป้าหมายองค์การให้ชัดเจน เพื่อการสร้างแนวคิดให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ ทำให้บุคลากรมีความรักในองค์การ อันจะนำพาไปสู่ความร่วมมือในการสร้างสรรค์งานที่ดีให้กับองค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Grey Hat คืออะไร

Grey Hat คืออะไร Grey Hat คือ Hacker ที่มีทั้งด้สนดีและไม่ดีอยู่ภายในตัว อาจมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีหรือป้องกันระบบโดยขึ้นอยู๋กับสถานการณ...