วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Weka คือ

โปรแกรม Weka คืออะไร
โปรแกรม Weka เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล เทคนิคเหมืองข้อมูลคือกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลจำนวนมากเพื่อหาความสัมพันธ์ รูปแบบและแยกประเภทของข้อมูล และ weka นั้นยังได้รวบรวมเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลหลายๆ เทคนิคเข้าไว้ด้วยกัน แถมยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้ง่ายๆ ผ่านทางหน้าจอ GUI (Graphic User Interface) ของWeka ! อีกด้วย ซึ่งนับว่าทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ข้อดีของโปรแกรม Weka
  1. เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี
  2.  สามารถทางานได้ทุกระบบปฏิบัติการ
  3. เชื่อมต่อ SQL Database โดยใช้ Java Database Connectivity
  4.  มีการเตรียมข้อมูลและเทคนิคในการสร้างแบบจาลองที่ครอบคลุม
  5.  มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานเนื่องจากใช้
  6.  สนับสนุนเกี่ยวกับการทาเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  7. การเตรียมข้อมูล (Data Preprocessing)
  8. การทาเหมืองข้อมูลด้วยเทคนิคการจาแนกข้อมูล (Classification)
  9. การทาเหมืองข้อมูลด้วยเทคนิคการจัดกลุ่ม (Clustering)
  10. การทาเหมืองข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Associating)
  11. เทคนิคการคัดเลือกข้อมูล (Selecting Attributes)
  12. เทคนิคการนาเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ (Visualization)
หน้าต่างของโปรแกรม WEKA


1.ส่วนบนสุดจะเป็นแท็บ (tab) ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 แท็บวางเรียงกันอยู่ทางด้านบน ซึ่งแท็บต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเมนูให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเทคนิคต่างๆของ Weka ได้นั่นเอง
2.ส่วนที่อยู่ตรงกลางซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการกดแท็บต่างๆ ส่วนนี้เป็นส่วนของการเลือก option ต่างๆใน การวิเคราะห์ข้อมูล และส่วนการแสดงผลลัพธ์หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จแล้ว
3.ส่วนที่อยู่ด้านล่างสุด จะเป็นส่วนที่บอกสถานะ ของการทำงานในแต่ละขั้นตอน
 การทำงานของแท็บเมนู ทั้ง6แท็บ

Preprocess เป็นส่วนที่ใช้ในการเลือกไฟล์ข้อมูลสำหรับเป็นอินพุท (input) เพื่อทำการ วิเคราะห์ข้อมูล
Classify เป็นส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูล (classification) หรือทำนายข้อมูล (prediction) ซึ่งจะมีวิธีการต่างๆให้เลือกมากมาย
Cluster เป็นส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจัดกลุ่มข้อมูล (clustering) โดย จะจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายๆ กันหรือมีความสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกัน
Associate เป็นส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
Select attributes เป็นส่วนที่คล้ายๆ กับส่วน Preprocess แต่จะเน้นที่การหาว่าตัวแปรไหนที่ สำคัญและไม่สำคัญในชุดข้อมูลบ้าง ซึ่งตัวแปรที่ไม่สำคัญนี้จะถูกกำจัดทิ้งไป ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ
Visualize เป็นส่วนของการ plot จุดข้อมูลในรูปแบบ 2 มิติ
ขั้นตอนการใช้งานเบื้องต้นของ โปรแกรม weka
ตารางข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบวิเคราะห์
ซึ่งตัวอย่างนี้เป็นการทำนายพยากรณ์อากาศ ก่อนการแข่งขันกีฬา ซึ่งการพยากรณ์อากาศเป็นสิ่งสำคัญเพราะการแข่งขันกีฬาบางประเภทต้องการอาศัย สภาพอากาศที่เหมาะสมอีกด้วย
ขั้นตอนการใช้งานในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิก open file เพื่อทำการเลือกไฟล์ input ที่จะทำการใช้ในการทดสอบ ในการทดสอบครั้งนี้ใช้ไฟล์ที่เป็นนามสกุล .csv แล้วทำการคลิกปุ่ม open


หน้าต่างนี้จะแสดงผลข้อมูลที่ input ว่ามี attribute อะไรบ้าง


2. คลิกที่แท็บ Classify หน้าตาของ workspace จะเปลี่ยนไปเป็นส่วนของแท็บ Classify แล้วคลิกที่ ปุ่ม Choose จะมีลิสต์ (list) แสดงเทคนิคต่างๆ ของการ Classify ให้คลิกเลือกที่เมนู trees หลังจากนั้นให้ เลือกที่เทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วย J48 โดยคลิกที่เมนูJ48 หลังจากนั้นคลิกที่ปุ่ม Start Weka จะ ทำงานและแสดงผลลัพธ์การทำงาน


หน้าต่างแสดงผลเมื่อเลือกเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วย J48 เสร็จแล้ว

3.หลังจากนั้นจะเห็นส่วนของ Classifier output ทางด้านขวาจะเปลี่ยนไป โดยจะแสดงผลการวิเคราะห์ในรูป แบบของ decision tree และข้อมูลทางสถิติอื่นๆ เช่น ค่าความถูกต้องในการทำนาย (Correctly Classified Instances) เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่เห็นนี้เป็นผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค J48

4. ในช่อง Result list ทางด้านซ้ายเมื่อเราทำการคลิกขวาและเลือกเมนู Visualize treeจะปรากฏหน้าจอ Tree View ขึ้นมา ซึ่งต้นไม้ (tree) ที่แสดงนี้จะเรียกว่า ต้นไม้ช่วยตัดสินใจ หรือ decision tree ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ใช้ใน การสร้างกฏเพื่อนำไปทำนายข้อมูลใหม่ในอนาคต ตัวอย่างของกฎที่สร้างได้จากต้นไม้ช่วยตัดสินใจนี้เช่น ถ้ามีฝนตก (rainy) และ มีลมแรง (windy) ก็ไม่ควรจะแข่งขันกีฬา เป็นต้น


ผลลัพธ์ของการ Visualize tree

WEKA เกี่ยวข้อง กับ Software Engineer อย่างไร
WEKA เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง Software Engineer ก็ต้องวิเคราะห์ข้อมูล ความต้องการของผู้ใช้ ซึ่ง WEKA ตอบโจทย์ในการวิเคราะห์ซึ่ง โปรแกรม WEKA ยังสามารถผลลัพธ์ในการตัดสินใจของลูกค้า และนอกจากนั้นยังสามารถ วิเคราะห์ของมูลเป็นจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และนอกจากนั้นยังนำข้อมูลผู้ใช้ที่เก็บไว้มาวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ใช้ต่อได้ว่าผู้ใช้มีความต้องการให้พัฒนา Software ในด้านไหนบ้าง ซึ่งจะทำให้ Software Engineer มีความสะดวก ถูกต้อง และ แม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูล และ พัฒนา Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Pentaho คือ

Pentaho ซึ่งมีฟังก์ชั่นการใช้งานต่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Data Integration, Reporting, Ad-hoc Query, Analysis, Dashboard หรือแม้แต่ Data Mining ดังนั้น Pentaho จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่าในการเลือกเพื่อมาพัฒนาระบบ DWH&BI Pentaho รวบรวมโปรแกรมต่างๆทางด้าน BI เข้าด้วยกันเพื่อทำงานร่วมกันเป็น Solution ทางด้าน BI โดยสามารถแบ่งเป็นส่วนประกอบหลักได้ 6 ส่วนคือ
  • 1. Platform
  • 2. Reporting
  • 3. Ad-hoc Query
  • 4. Analysis
  • 5. Dashboard
  • 6. Data Integration
 

1. Plateform

Solution Engine เป็นหัวใจหลัก Pentaho Platform ทำหน้าที่อ่านและสั่ง process (Action Sequences) ของ BI ต่างๆ ให้ทำงาน ตัวอย่างเช่น Reporting, Analysis, Dashboard

Solution Repository ทำหน้าที่เก็บ template, query, report, business rule, process, style sheet และ action sequence ซึ่งเก็บอยู่ใน Database ที่เรียกว่า Solution Database

Runtime Engine ทำหน้าที่อ่าน resource ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น query, report, business rule, process, style sheet และ action sequence จาก Solution Repository มาเพื่อประมวลผลแล้วทำการบันทึกข้อมูลการประมวลผลลงในส่วนของ Auditing ซึ่งตัว Runtime Engine ก็คือ BI Virtual Machine เป็น environment สำหรับประมวลผลตัว Action Sequence

BI Components คือ ส่วนประกอบหลักที่ถูกเรียกใช้งานและถูกควบคุมการทำงานผ่าน Action Sequence โดย BI Component พื้นฐานที่ติดมากับ Pentaho BI Platform ได้แก่ reporting, charting, OLAP, ETL, dashboard, workflow, scripting เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถนำ Component อื่นๆ ที่เขียนขึ้นเองหรือของ Third Party เข้ามาใช้ต่อพ่วงกับ Pentaho BI Platform ได้อีก อย่างเช่น email, print

API คือส่วนของ Application Programming Interface ที่ถูกออกแบบมาในลักษณะ SOA (Service Oriented Architecture) ทำให้ง่ายแก่การเรียกใช้ เพียง 5 บรรทัดของ java code ก็สามารถเรียกใช้ HTTP, JMS, SOAP, AJAX, POJOs, BPEL ผ่าน Action Sequence ได้

User Interface คือส่วนที่ใช้แสดงผลให้กับผู้ใช้งานโดย โดยสร้างการแสดงผลมาจาก html ซึ่งสามารถแปลงมาจาก XML และยังสามารถใช้งาน AJAX, Single Sign on และ Security ร่วมกับ User Interface ได้

Client คือส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกประมวลผล Action Sequence, Workflow, ESB, SOA ได้เป็นต้น โดยสามารถเป็นได้ทั้งแบบ Remote หรือ Local การเรียกใช้งานก็สามารถเรียกผ่าน Web Browser หรือจะเรียกผ่าน Application ที่เขียนขึ้นมาเองก็ได้

Configuration ใช้กำหนดชื่อ Component ที่ต้องการเรียกใช้ พร้อมทั้งกำหนดค่าพารามิเตอร์มาตรฐานในการเรียกใช้ไว้ในส่วนของ Configuration

ความสามารถของ Platform ประกอบด้วย

  • - รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • - เชื่อมต่อกับ Data Source, Portal และ Application ต่างๆ ผ่านมาตรฐานเปิด (Open Standard)
  • - เชื่อมต่อกับโปรแกรมตั้งเวลา (Scheduling) การตรวจสอบรหัสผู้ใช้งานเพื่อเข้าระบบ (Authentication) และสิทธิ์การใช้งานของแต่ละรหัสผู้ใช้งาน (Authorization)
  • - รองรับการปรับแต่ง Application โดยใช้ APIs, web services หรือทำการแก้ไข template, business rules หรือแม้แต่ source code
  • - ออกแบบโดยเน้น workflow-base จึงช่วยให้สามารถแก้ไขระบบตามความต้องการได้
  • - มีการบันทึก log การเข้าใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคน ทำให้สามารถติดตามการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละคนได้

2. Reporting

Pentaho Reporting ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลในรายงานตาม Layout ที่กำหนด (Static Report) ได้หลายรูปแบบทั้งในรูปแบบของ PDF, Excel, RTF, Text File ซึ่งรายงานดังกล่าวสามารถจัดส่งถึงผู้ใช้งานผ่านทาง web portal, email หรือแม้แต่ใน application ต่างๆ

ความสามารถของ Reporting ประกอบด้วย


  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • มีความยืดหยุ่นในการ deploy รายงานที่ออกแบบในเครื่อง desktop ไปเป็นรายงานที่อยู่บนเว็บซึ่งสามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้
  • รองรับการเชื่อมต่อกับข้อมูลได้ทั้งแบบที่เป็น relational database, OLAP หรือ XML
  • กำหนดรูปแบบของรายงานได้หลายรูปแบบ เช่น PDF, Excel, RTF, Text File
  • มีเครื่องช่วยในการสร้างรายงาน ช่วยให้สร้างรายงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
  • เชื่อมต่อกับ data source ได้โดยตรงหรือจะผ่าน metadata ก็ได้
  • ตั้งเวลาในการสร้างรายงานหรือจะสร้างรายงานทันทีที่ต้องการใช้งาน
  • ส่งรายงานได้หลายช่องทาง เช่น email, printer, file server, web portal, application ต่างๆ หรือแม้แต่ web service
  • แสดงข้อมูลในรายงานได้หลายหลายรูปแบบ เช่น table, chart, template, sub report, drill link, header, footer เป็นต้น
  • รองรับ JDBC 2.0 เป็นต้นไป
  • รองรับหลากหลายฐานข้อมูล เช่น Oracle, DB2, Microsoft SQL, MySQL, PostgreSQL และอื่นๆ
  • รองรับหลายการใช้หลาย data source ในหนึ่งรายงาน
  • สามารถแยกรายงานหนึ่งตัวออกเป็นหลายไฟล์ตามเงื่อนไขที่ระบุ เช่นแยกตามกลุ่มผู้ใช้งาน โดยในแต่ละไฟล์ สามารถระบุได้ว่าจะจัดส่งรายงานด้วยวิธีใด เช่น ส่ง email, พิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ ความสามารถทั้งหมดที่กล่าวมาเรียกว่า Report Bursting
  • ระบุเงื่อนไขในการสร้างรายงาน ผู้ใช้งานสามารถระบุ parameter ได้ตามต้องการ

3. Ad-hoc Query

Pentaho Ad-hoc Query เป็นส่วนที่ต่อขยายจาก Pentaho Reporting ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรายงานแบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง โดยมีเครื่องมือลักษณะเป็น wizard อ่านข้อมูลจาก Metadata ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งจะใช้ข้อความหรือคำศัพท์ที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจในข้อมูลที่จะเลือกมาสร้างรายงาน

ความสามารถของ Reporting ประกอบด้วย


  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • สร้างรายงานง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง เพียงลากวาง (drag and drop) ข้อมูลที่ต้องการ จาก metadata
  • จัดเรียงข้อมูล (sorting) และกรองข้อมูล (filter) ได้ตามต้องการ
  • ระบุขนาดกระดาษ, ชื่อรายงาน, ข้อความที่จะพิมพ์บน header และ footer ได้ตามต้องการ
  • มี template ของรายงานให้เลือกใช้
  • Ad-hoc query ที่สร้างขึ้นสามารถปรับปรุงรูปแบบให้ดีขึ้นได้ด้วย report designer โดยเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT
 

4. Analysis


ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงโต้ตอบ (Interactive) กับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Programming ผู้ใช้งานสามารถหาคำตอบจากคำถามทางธุรกิจที่ตนเองสงสัยได้ด้วยตนเอง

ความสามารถของ Analysis ประกอบด้วย


  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว เพียงลากวางข้อมูลที่ต้องการ อีกทั้งยังสามารถ drill down ลงไปดูรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการได้อีกด้วย
  • แสดงข้อมูลในลักษณะ Cross tab report
  • การดูข้อมูลในมุมมองต่างๆ (Dimension) ไม่ว่าจะมองมุมมองเดียว (Slice) หรือหลายมุมมอง (Dice)
  • สามารถแสดงแผนภาพ (Chart) ตามข้อมูลที่เลือกได้
  • คำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนได้หลายหลายมุมมอง (Multi Dimensional)
  • export ข้อมูลออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น PDF, HTML, Excel, RTF, Text File
  • รองรับ Multidimensional Expression (MDX) language เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่ซับซ้อน
  • ดูข้อมูลแบบลำดับชั้นได้ (hierarchy)
  • รองรับ JDBC 2.0 เป็นต้นไป
  • รองรับหลากหลายฐานข้อมูล เช่น Oracle, DB2, Microsoft SQL, MySQL, PostgreSQL และอื่นๆ
  • กำหนดสิทธิ์การใช้งานได้ ข้อมูล RDBMS
 

5. Dashboard


ช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) และเป้าหมายการทำงานทั้งในระดับส่วนตัว, ระดับแผนก, ระดับบริษัท ในรูปแบบที่เป็นรูปภาพหรือแผนภาพ ช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นข้อมูลในแต่ละระดับในภาพรวมซึ่งสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานต่อไป

ความสามารถของ Dashboard ประกอบด้วย


  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ช่วยในการชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน
  • ง่ายต่อการเข้าใจข้อมูลเนื่องจากแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เป็นรูปภาพหรือแผนภาพ
  • เชื่อมต่อกับ Pentaho Reporting และ Pentaho Analysis ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูรายละเอียดของข้อมูลที่มีปัญหาหรือข้อสงสัยได้ (Drill down)
  • เชื่อมต่อกับ Portal ทำให้สามารถแสดงข้อมูลได้หลายหลายและเป็นอิสระต่อกัน ซึ่งทำให้รองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่มากขึ้น
  • กำหนดเงื่อนไข เพื่อให้ระบบแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้ทราบถึงสถานการณ์ต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรับมือหรือแก้ปัญหากับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
 

6. Data Integration

คือเครื่องมือที่ใช้สร้างคลังข้อมูล (Data Warehouse) โดยทั่วไปเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า ETL (Extraction, Transformation and Loading)
  • Extraction คือการดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่เราต้องการมาเก็บไว้ใน Data Warehouse โดยจะดึงมาเฉพาะข้อมูลใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาหรือข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยข้อมูลที่ดึงมาจะมาเก็บพักไว้ก่อนซึ่งเรียกว่า Staging Area
  • Transformation คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลที่ได้จากการ Extract ให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องตามโครงสร้างของ Data Warehouse
  • Loading คือการเก็บข้อมูลลงใน Data Warehouse หลังจากทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง

ความสามารถของ Pentaho Data Integration ประกอบด้วย


  • รองรับมาตรฐาน Java 100%
  • ง่ายต่อการใช้งาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ในรูปแบบกราฟิก เพียงลากวางเครื่องมือต่างๆ ตามกระบวนการที่ต้องทำ
  • รองรับ Slowly Changing Dimension และ Junk Dimension
  • ออกแบบมาเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพ (Performance) และการขยายระบบเมื่อระบบมีปริมาณการใช้งานที่มากขึ้น (Scalability)
  • มีเครื่องมือในการเชื่อมต่อกับระบบ ERP (ERP Connectors)
  • มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Data Quality)
  • รองรับหลากหลายแหล่งข้อมูล (Data Source) ไม่ว่าจะเป็น database ต่างๆ, file base (DBF), text file, excel file และอื่นๆ
  • เชื่อมต่อกับ Pentaho BI Suite ทำให้สามารถใช้ความสามารถอื่นๆร่วมกันได้เช่น เรื่องของการ scheduling, security, workflow เป็นต้น
  • นำไปใช้งานในลักษณะต่างๆ ดังนี้ สร้างคลังข้อมูล (Populate Data Warehouse), Export ข้อมูลจากฐานข้อมูลไปเป็น text file, Import ข้อมูลจาก text file เข้าฐานข้อมูล, นำข้อมูลจากฐานข้อมูลหนึ่งไปเข้าอีกฐานข้อมูลหนึ่ง, ดูข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่

Google Home คือ

มาทำความรู้จักกับ Google Home กันเถอะ

สวัสดีครับ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ Google ได้เปิดตัวเทคโนโลยีชิ้นใหม่ ชื่อว่า Google Home หลายคนอาจสงสัยว่า เจ้าตัว Google Home ตัวนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ใช้ทำอะไร เอาเป็นว่า เรามาทำความรู้จักกับ Google Home กันเลยดีกว่า





Google Home คืออะไร?

Google Home คือ voice-activated speaker หรือ ลำโพงที่ทำงานด้วยคำสั่งเสียง เราสามารถถาม,สั่งให้ค้นหา และ ทำอะไรหลายๆอย่างได้ เพียงแค่เราใช้คำสั่งเสียงเท่านั้น นอกจากนั้น Google Home ยังสามารถสั่งการ smart device ต่างๆที่ติดตั้งภายในบ้านได้อีกด้วย

วิธีการใช้งาน Google Home



ดังที่เป็นในคลิปรีวิว เราสามารถเปิดการใช้งาน โดยพูดว่า “Okay Google” , “Hey Google” และมันสามารถได้ยินเราแม้ว่าจะเปิดเพลงอยู่ หรือว่ามีเสียงเพลงจากลำโพงเครื่องอื่น
เราสามารถปรับเสียงโดยใช้นิ้วแตะด้านบน Google Home แล้วรูดเป็นวงกลมดังเช่นในคลิป
หลังจากเปิดการทำงานแล้วเราสามารถใช้คำสั่งเสียงในการสั่งการได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการถามเรื่องราวต่างๆ การให้ค้นหา หรือการสั่งให้เปิดเพลงในยูป นอกจากนี้ยังสามารถทำงานพ่วงกับ smart device ต่างๆภายในบ้านได้อีกด้วย

KM การจัดการความรู้ Taciit knowledge/Explicit knowledge

การจัดการความรู้ คืออะไร ?

สำหรับกระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาของความรู้

ความหมายของการจัดการความรู้



การจัดการความรู้ ( Knowledge Management - KM ) คือ การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย ปัจจัยความอยู่รอดขององค์กร
- ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
- ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
- ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์กร
- ผู้นำองค์กร มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี คือ วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า

ประเภทของความรู้

1. ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา เช่น พวกหลักวิชา หรือทฤษฎีทั้งหลายอันได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ กระบวนการวิจัย จึง เรียกว่า ความรู้ชัดแจ้ง
2. ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) คือ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ชัด เป็น ความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝน การปฏิบัติงานจนเกิดทักษะและ กลายเป็นความชำนาญ เชี่ยวชาญ จึงเป็นประสบการณ์ติดตัวของแต่ละบุคคล เป็นความรู้ที่เกิดจากวิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวบุคคล

เปรียบเทียบระหว่างความรู้ 2 อย่าง

ExlicitTacit
วิชาการ หลักวิชาภูมิปัญญา เคล็ดวิชา
ทฤษฎีปฏิบัติ ประสบการณ์
มาจากการวิจัย การสังเคราะห์มาจากวิจารณญาณ การใช้ปฏิภาณ ไหวพริบ
เป็นกฎเกณฑ์ วิธีการผ่านการพิสูจน์เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นลูกเล่นของแต่ละคน

ถ้าหากเปรียบความรู้ระหว่าง 2 อย่างนี้ ดังเช่นภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ
Explicit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ มีเพียงนิดเดียวที่คนทั่วไปมองเห็น เพราะเป็นส่วนที่เห็นชัดเจน มองง่าย
Tacit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ เป็นก้อนใหญ่โตมหึมาหลบอยู่ใต้น้ำ คนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเปรียบเสมือนประสบการณ์ของคน ที่ซึมซับ ฝังลึกอยู่ในตัวคนมากมาย ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายทอดออกมา คนอื่นๆที่ไม่มีความรู้ หรือรู้ไม่เท่าทัน ก็ไม่สามารถนำความรู้ที่ดีๆนั้นมาใช้ได้

ความรู้ในองค์กรมี 2 ชนิด คือ

1. ความรู้ส่วนบุคคล ( Personnel Knowledge ) คือ ความรู้ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ซึ่งได้จากการปฏิบัติงาน แต่บางคนจะหวงความรู้ และไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่น หรือการถ่ายทอดจะถ่ายให้เพียงบางส่วน และจะกั๊กความรู้ไว้บางส่วน
2. ความรู้ขององค์การ ( Organization Knowledge ) คือ ความรู้ที่บุคคลปฏิบัติงานอยู่กับองค์การมานาน จนกระทั่งมีความชำนาญ ดังนั้น หากบุคคลลาออกจากองค์การ หรือ เกษียณอายุ ความรู้ของงานก็จะหายไปจากองค์การ เพราะไม่มีการบันทึกสาระสำคัญของงานเอาไว้ ดังนั้นงานที่สำคัญๆจึงควรต้องบันทึกและต้องจัดเก็บไว้เป็นระบบ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ ให้สามารถปฏิบัติงานขององค์การไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการชะงักของงาน และไม่เกิดความเสียหายต่อองค์การ

โมเดล ปลาทู


การเรียนรู้เกี่ยวกับ KM สำหรับผู้ที่เริ่มทำความเข้าใจหรือเริ่มเรียนรู้ใหม่ นักวิชาการได้เปรียบเทียบ KM เป็นโครงสร้างเหมือน ปลาทู ตัวหนึ่ง หรือ ที่เรียกว่า โมเดลปลาทู นั้นเอง โดยเปรียบเทียบ ว่า ถ้า KM เป็น ปลาทู ขอให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วน Knowledge Vision เปรียบได้กับ หัวปลา
ส่วน Knowledge Sharing เปรียบได้กับ ตัวปลา
ส่วน Knowledge Asset เปรียบได้กับ หางปลา
ส่วนหัวปลา หมายถึง Knowledge Vision ( KV ) ก็คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการตอบคำถามว่า ประเด็น ที่เราสนใจนำมาจัดการความรู้นั้น เป็นประเด็นเรื่องอะไร เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์การอย่างไร เพราะถ้าหยิบมาผิดประเด็นไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ก็แสดงว่า ปลาตัวนี้กำลัง “หลงทิศ” กำลังว่ายน้ำไปผิดทาง ซึ่งผู้บริหารที่จะมาทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง KM นี้ ต้องคอยสอดส่องดูแล คอยแนะนำ อย่าให้ปลาว่ายไปผิดทาง ซึ่งคำถามที่สำคัญ ที่จะต้องตอบให้ได้ ก็คือ “เรากำลังจะทำ KM ไปทำไม เรากำลังจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร”
ส่วนตัวปลา หมายถึง Knowledge Sharing ( KS ) เป็นส่วนที่สำคัญ เป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ (Share & Learn ) ถือได้ว่าเป็น หัวใจ ของการทำ KM เป็นกระบวนการที่ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะการที่คนเราจะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ไปให้ผู้อื่นนั้น ต้องอาศัยความผูกพัน การเป็นมิตร ความสนิทชิดเชื้อ ความไว้วางใจ ความห่วงใยต่อกันและกัน กระบวนการนี้จึงต้องเริ่มต้นที่การทำกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยก่อนเป็นลำดับแรก และบรรยากาศที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี ควรเป็นบรรยากาศที่สบายๆ มีความเป็นกันเอง ไม่เกร็ง ไม่เครียด และไม่เป็นทางการมากนัก กลุ่มแลกเปลี่ยนควรเป็นกลุ่มเล็กๆ ควรใช้วิธีการเล่าเรื่อง ที่เกิดขึ้นจริง โดยผลัดกันเล่าความสำเร็จ ความภูมิใจ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องของความสำเร็จต้องเล่าให้ละเอียดว่าเพราะอะไรจึงทำให้ได้รับความสำเร็จ หรือถ้าเป็นปัญหาควรบอกด้วยว่าสุดท้ายแล้วสามารถแก้ปัญหาผ่านไปได้อย่างไร และการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็ต่อเมื่อ ผู้ฟัง “เปิดรับฟัง” ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ไม่มีอคติ และคิดอย่างมีระบบ
ส่วนหางปลา หมายถึง Knowledge Asset ( KA ) คือ คลังความรู้ ซึ่งเปรียบเสมือน “ถัง” ที่เรานำเอาความรู้มาใส่ไว้ แล้วใช้ระบบการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อผู้ใช้ประโยชน์สามารถนำเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งความรู้ที่มีอยู่ในคลังนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ1. เป็นการบันทึกในลักษณะเรื่องเล่า หรือคำพูดที่เร้าใจ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ เกิดแรงบันดาลใจ ความรู้ในลักษณะนี้ จะเป็นความรู้แบบ Tacit Knowledge
2. เป็นการบันทึกความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้ แบบ Explicit Knowledge
3. เป็นส่วนของความรู้ที่อ้างอิงจากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของเอกสาร การอ้างอิงถึงตัวบุคคล ผู้รู้ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการ ที่ เรียกว่า References

ปัญหาของการจัดการความรู้

1. การขาดความไว้วางใจต่อกันและกันของบุคลากร ทำให้เกิดความระแวง ทำให้งานขององค์การไม่ก้าวหน้า
2. การขาดความร่วมมือของบุคลากร ทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จ
3. การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์การ ทำให้บุคลากรทำงานให้กับองค์การไม่เต็มความสามารถ

กลยุทธ์ในการจัดการความรู้

1. ต้องสร้างคลังความรู้ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับบุคลากร สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรเพื่อให้มีการจดบันทึกสาระสำคัญของงาน แล้วจัดเก็บเป็นคลังความรู้
2. สร้างสังคมเวทีแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องให้เวลากับบุคลากรให้มีโอกาส พูดคุย สนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
3. กำหนดเป้าหมายองค์การให้ชัดเจน เพื่อการสร้างแนวคิดให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ ทำให้บุคลากรมีความรักในองค์การ อันจะนำพาไปสู่ความร่วมมือในการสร้างสรรค์งานที่ดีให้กับองค์การ

DEC คือ?

DCE

DCE เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้เกิดการเชื่อมต่อ โดยจะรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ DTE แล้วส่งไปยังตัวกลางส่งข้อมูล ซึ่งตามปกติแล้วอุปกรณ์ DCE มักหมายถึงโมเด็ม โดยหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ DTE และอุปกรณ์ DCE ด้วยกัน อุปกรณ์ DCE มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินการเชื่อมต่อและดำรงการเชื่อมต่อให้ดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งยุติเชื่อมต่อและการเปลี่ยนสัญญาณ การสร้างรหัสสัญญาณต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานเพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ DTE และอุปกรณ์ DCE ด้วยกัน ดังนั้นอุปกรณ์ DCE จึงอาจจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ DCE เช่น โมเด็ม การ์ดเครือข่าย เป็นต้น
อุปกรณ์ DCE ทั้งสองฝั่งจะมีการแลกเปลี่ยนสัญญาณบนสายที่ใช้เป็นตัวกลางส่งข้อมูลหรือเครือข่าย ซึ่งจะต้องความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยฝ่ายผู้รับต้องใช้การเข้ารหัสสัญญาณเดียวกัน รวมถึงอัตราความเร็วของการส่งกระแสไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน อุปกรณ์ DTE –DCE แต่ละคู่ก็จะต้องได้รับการออกแบบที่สามารถได้ตอบเพื่อทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ที่มาจากดรงงงานผลิตเดียวกัน หรือสร้าง
จากมาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นเป็นทางการ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและสะดวก โดยการเชื่อมต่อดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติสำคัญ 4 ด้านด้วยกันคือ
·                คุณสมบัติทางกล เป็นคุณสมบัติด้ายกายภาพที่กำหนดรายละเอียดของปลั๊กที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งมีทั้งปลั๊กแบบตัวผู้ และปลั๊กแบบตัวเมีย โดยเป็นการแสดงถึงการเชื่อมต่อทางฟิสิคัสที่แท้จริงของอุปกรณ์ไปยังอุปกรณ์ DCE
·                คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นการกำหนดคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสัญญาณที่ใช้ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมถึงวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระดับรงดันไฟฟ้า , เวลา , การเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ทั้ง DTE และ DCE จะต้องใช้รูปแบบเข้ารหัสชนิดเดียวกัน เช่น การเข้ารหัสแบบ NRZ-L โยคุณสมบัติทางไฟฟ้านี้ยังเกี่ยวข้องกับอัตราข้อมูล ซึ่งเป็นอัตราความเร็วในการรับส่งสัญญาณและระยะทางเป็นสำคัญด้วย
·                คุณสมบัติ ด้านหน้าที่การทำงาน หน้าที่การทำงานของสัญญาณต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อจะถูกกำหนดไว้ในรายละเอียดของฟังก์ชัน ซึ่งจะปฏิบัติตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายไว้ในเซอร์กิตการแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละเซอร์กิต ซึ่งมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ในส่วนของข้อมูลในส่วนของข้อมูล , การควบคุม, เวลา , และอิเล็กทรอนิกส์กราวนด์
·                คุณสมบัติของขั้นตอนการทำงาน เป็นรายละเอียดของลำดับเหตุการณ์หรือขั้นตอนในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมการทำงาน ที่ตั้งอยู่บนพื้นบานบนหน้าที่การทำงานของการเชื่อมต่อหรือการอินเตอร์เฟซ ซึ่งตัวอย่างที่จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไปนี้ จะทำให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น
ส่วนเชื่อมต่อระบบ WAN ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับผู้ให้บริการ (service provider) ที่อยู่ไกลออกไป               การเชื่อมต่อเข้ากับระบบ WAN นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ระบบ WAN ทำการเชื่อมต่อข้อมูลข้ามพื้นที่กว้างขวางและใช้เทคโนโลยีแบบต่างๆ กัน การให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ WAN มักจะเป็นการเช่าใช้บริการจากผู้ให้บริการ ชนิดของการเชื่อมต่อระบบ WAN ได้แก่ leased line, circuit-switched และ packet-switched

 Wan ชนิดต่างๆ
 สำหรับการให้บริการ WAN แต่ละชนิดอุปกรณ์ที่เรียกว่า the customer premises equipment (CPE) ซึ่งโดยปกติจะเป็น Router จะทำหน้าที่เป็น data terminal equipment (DTE) การเชื่อมต่อนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับผู้ให้บริการโดยใช้อุปกรณ์ data circuit-terminating equipment (DCE) ซึ่งโดยปกติก็จะเป็นโมเด็ม หรือ CSU/DSU (channel service unit/data service unit) อุปกรณ์นี้จะทำการแปลงสัญญาณข้อมูลจาก DTE ให้ไปอยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่ระบบ WAN ของผู้ให้บริการสามารถรับรู้ได้




          ส่วนเชื่อมต่อ Router เข้ากับการให้บริการระบบ WAN ที่มีใช้กันโดยทั่วไปมักจะเป็นส่วนเชื่อมต่อแบบอนุกรม(serial interface) การเลือกสายแบบอนุกรมที่เหมาะสมนั้น จะทำได้เมื่อสามารถตอบคำถาม 4 ข้อ ต่อไปนี้ได้




          1. ชนิดของการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ของ Cisco นั้นเป็นแบบใด?
              Router ของ Cisco อาจจะใช้ส่วนเชื่อมต่อที่แตกต่างกันออกไปสำหรับการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ส่วนเชื่อมต่อทางด้านซ้ายเป็นส่วนเชื่อมต่อแบบอนุกรมขนาดเล็ก ส่วนเชื่อมต่อทางด้านขวาเป็นหัวต่อแบบ DB-60 ความแตกต่างนี้ทำให้การเลือกสายเชื่อมต่แบบอนุกรม เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านอุปกรณ์แบบอนุกรมเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งยวด สำหรับการตั้งระบบ WAN

           2. ระบบเครือข่ายที่กำลังเชื่อมต่อเข้าด้วยนั้นเป็นการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ DCE หรือ DTE? 
               DTE และ DCE เป็นสวนเชื่อมต่อแบบอนุกรมสองแบบที่อุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ประเด็นหลักที่แตกต่างกัน คือ อุปกรณ์ DCE สนับสนุนสัญญาณนาฬิกา (clock signal) สำหรับการสื่อสารบนบัส (สายสื่อสาร)

           3. อุปกรณ์นั้นใช้มาตรฐานการส่งสัญญาณแบบใด?
               สำหรับอุปกรณ์แต่ละชนิดจะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกัน แต่ละมาตรฐานจะกำหนดลักษณะของสัญญาณในสายสื่อสารและกำหนดชนิดของหัวเชื่อมต่อที่ปลายสายเคเบิ้ล

           4. หัวต่อนั้นเป็นชนิดตัวผู้หรือตัวเมีย? 
               ถ้าหากว่าหัวต่อนั้นสามารถมองเห็นขา (pin) ได้ก็แสดงว่าเป็นหัวต่อแบบตัวผู้ ถ้ามีลักษณะเป็นช่องสำหรับเสียบขาเข้าไปก็แสดงว่าเป็นตัวเมีย



DCE Serial Connections

CPC, CPM คืออะไร

CPC, CPM  คืออะไร

การทำโฆษณาบนโลกออนไลน์เค้าคิดราคากันยังไง แล้วแบบไหนถึงจะดีที่สุด บางคนงง  CPC, CPM  คืออะไรวันนี้   แอดมินจะมาอธิบายคร่าวๆด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้ทุกคนได้ลองอ่านดูนะคะ
  • CPC (cost per click) คือ การจ่ายเงินคลิกต่อคลิก เราจะเสียเงินให้กับ Google ก็ต่อเมื่อ มีคนคลิกโฆษณาของเราเท่านั้น แต่จะซื้อสินค้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความน่าสนใจหรือความต้องการของลูกค้า เช่น  เรากำหนด Keyword คำว่า กุหลาบสีแดง เมื่อมีคน   Search  คำว่ากุหลาบสีแดง  แล้วคลิกเข้ามาในเว็บไซต์เรา เมื่อนั้นเราก็จะเสียเงินให้กับ Google  ส่วนราคาค่าคลิกแค่ละคำจะมีค่าใช้จ่ายกี่บาทขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ จำนวนการค้นหาต่อเดือน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ + อัตราการแข่งขันของแต่ละ keyword + และคุณภาพในการทำโฆษณา  ซึ่งราคานี้เครื่องมือของ Google จะคำนวณราคาออกมาให้เราทราบ

  • CPM (cost per thousand impressions) คือ จ่ายเงินให้กับ Google เมื่อมีคนเห็นครบ 1000 ครั้ง ส่วนจะเสียเงินกี่บาทนั้น ขึ้นอยู่กับราคาที่ทาง Google กำหนด การทำธุรกิจรูปแบบ CPM   นั้นเหมาะกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เช่น โครงการบ้านจัดสรร ที่ต้องการให้คนเห็นโฆษณาของเค้าโดยไม่ได้หวังว่าจะขายบ้านได้ เพียงแค่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ หรือ ความน่าจดจำให้กับลูกค้าที่พบเห็น เมื่อเวลาลูกค้าอยากจะซื้อบ้าน เค้าก็จะนึกถึงเราเป็นอันดับแรก
แต่แอดมินขอแนะนำว่า สำหรับผู้ที่เริ่มธุรกิจใหม่นั้น  เหมาะกับการจ่ายเงินในรูปแบบ CPC (cost per click) คือการจ่ายเงินคลิกต่อคลิก เราจะเสียเงินให้กับ Google ก็ต่อเมื่อ มีคนคลิกโฆษณาของเราเท่านั้น และราคาค่าคลิกของแต่ละคำเราสามารถเชคได้ตลอดเวลาพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนได้เรื่อยๆ

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อธิบายคุณลักษณะของระบบสารสนเทศ ต่อไปนี้ TPS, MIS, DSS, EIS, ES, OAS

อธิบายคุณลักษณะของระบบสารสนเทศ ต่อไปนี้ TPS, MIS, DSS, EIS, ES, OAS

1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) 
     ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ
     – ลดจำนวนพนักงาน
     – องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว
     – ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
     – ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
     – ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
     – ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
     – ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร
     – ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) 
     ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
     – ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
     – ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
     – ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
      – ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
     – ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
     – ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
     – ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
     – ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
     – ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
     – ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) 
     ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
     – มีการใช้งานบ่อย
     – ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
     – ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
     – การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
     – การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
     – ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
     – การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
     – ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
     1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
     2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
     3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
     4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
     5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
     6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อด้อยของระบบ EIS
     1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
     2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
     3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
     4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
     5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
     6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
     7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) 
     ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
     1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX
     2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video – Conferencing)
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
     1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
     2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
     3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
     4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ
อาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ
Electronic Funds Transfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES)
     ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference การแบ่งประเภทสารสนเทศมีความหลากหลายแล้วแต่จะใช้องค์ประกอบใดเป็นหลัก เช่นการวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
1 ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3 การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

Porter 5 Model ( ปัจจัยกดดันทั้ง 5 )


ปัจจัยกดดันทั้ง 5 (Five Force Model)

 ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจในหลายๆ ด้าน การแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของกิจการ คู่แข่งจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะใช้วิธีการตัดราคา ซึ่งไม่ส่งผลดีในระยะยาว ดังนั้นผู้บริหารของกิจการควรจะพิจารณาปัจจัยหลักที่เข้ามามีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ 
            ปัจจัยกดดันทั้ง 5 (Five Force Model) คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คู่แข่ง สภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพื่อวางแผนกลยุทธ์ของกิจการและปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยมี Michael E. Porter เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ 


     1.การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่  เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง เพราะจะทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจลงลด การที่ผู้ประกอบการเลือกทำธุรกิจที่มีคูล้อมรอบ (Moat) จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ยาก คูล้อมรอบธุรกิจได้แก่ ตราสินค้าที่แข็งแกร่ง ฐานลูกค้าที่จงรักภักดีในแบรนด์สินค้า ความสามารถในบริหารต้นทุน ฯลฯ การเข้ามาของคู่แข่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวิเคราะห์งบการเงินทั้งกิจการตนเอง และคู่แข่ง (ถ้าสามารถหาได้ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และบริษัทเอกชนที่ให้บริการข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย) 
     การแข่งขันด้วยการขายสินค้าในตลาดล่าง ซึ่งจะเน้นราคาเป็นสำคัญ แข่งกันด้วยการตัดราคาเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า เป็นธุรกิจที่ไม่มีความยั่งยืน เพราะผู้บริโภคในตลาดล่างต้องการเพียงสินค้าราคาถูก คุณภาพพอใช้ เมื่อใช้การตลาดด้วยการลดราคา จะเป็นการจูงใจคู่แข่งลดราคาด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดสงครามราคา สุดท้ายธุรกิจจะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่ถูกลงเพื่อแข่งขัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือการแข่งขันของโทรศัพท์มือถือราคาถูก ซึ่งราคาไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งสินค้าในแต่ละแบรนด์ก็แทบไม่มีความแตกต่างกัน 

     2.การต่อรองของลูกค้า ผู้ประกอบการต้องสร้าง คุณค่าในตัวสินค้า(คุณค่าของสินค้าคือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากการใช้งานผลิตภัณฑ์) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากกิจการต้องพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่รายนั้นเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าและบริการได้ ซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการลดลง ผู้ประกอบการจะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน นอกจากนั้นผู้ประกอบการจะต้องสร้างแบรนด์สินค้าให้แข็งแกร่ง

     3.สินค้าทดแทน ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาว่าลูกค้าสามารถหาสินค้าทดแทนได้ยากง่ายเพียงใด การเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนมีความยากง่ายเพียงใด ระดับราคาและคุณภาพของสินค้าทดแทน
     ตัวอย่างเช่นธุรกิจ Hosting ให้เช่าบริการจัดทำเว็บไซต์ จะมีสินค้าทดแทนคือ 1.Virtual Private Server (VPS)บริการจำลองเครื่อง Server    2.เว็บไซต์สำเร็จรูปครบวงจร     3.Colocation Server ฯลฯ ซึ่งสินค้าทดแทนทั้ง 3 ชนิด ลูกค้าสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการได้อย่างง่ายดาย ในสภาวะปัจจุบันผู้ประกอบการ Hosting และโดเมน เพียงอย่างเดียวกำหนดเผชิญหน้ากับภัยคุกคามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

     4.ช่องทางผู้จัดหาวัตถุดิบ หรือ ซัพพลายเออร์ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาในสภาพวาดล้อมของธุรกิจว่ามีผู้จัดจำหน่ายรายใดมีอำนาจต่อรองได้สูง การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้จัดหาปัจจัยการผลิต
     ตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าปลีก  ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย จึงทำให้ร้านค้าสะดวกซื้อมีอำนาจต่อรองสูงต่อผู้ผลิตสินค้าหรือซัพพลายเออร์ บางครั้งสินค้าที่มีอัตรากำไรค่อนข้างน้อยจะไม่สามารถขายได้ในร้านค้าสะดวกซื้อ 

     5.การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการต้องพิจารณาถึงจำนวนคู่แข่งภายในอุตสาหกรรม สัดส่วนตลาดของคู่แข่งแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเข้าทำตลาดในผลิตภัณฑ์นั้น
     ตัวอย่างในอุตสากรรมเว็บไซต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งผู้ประการรายใหม่จะประกอบการได้ไม่เกิน 3 ปี ก็จำเป็นต้องปิดกิจการ เนื่องจากธุรกิจเว็บไซต์โดยทั่วไปไม่สามารถสร้างความจงรักภักดีได้ ประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานเง็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก Business Model เว็บไซต์ดั่งเดิม คือสร้างเว็บไซต์ โปรโมทให้ดัง ขายโฆษณา ใช้ไม่ได้ผลเหมือนในอดีต 
     นอกจากนี้แล้วผู้บริหารควรจะศึกษาเรื่องบัญชีการจัดการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารกระแสเงินสด และต้นทุน

Free Angular 2 CookBook [eBook] [PDF]

Free Angular 2 CookBook [eBook] [PDF]


Discover over 70 recipes that provide the solutions you need to know to face every challenge in Angular 2 head on

Download

Free Learning PySpark PDF

Learning PySpark


Build data-intensive applications locally and deploy at scale using the combined powers of Python and Spark 2.0


Download PDF

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

TPS คือ


ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(TPS:Transaction Processing Systems )
          เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ  TPS
1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.   เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3.   เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5. การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ 
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดย อาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
ตัวอย่าง
          การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กรประมวลข้อมูลในยุคก่อนที่จะมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้นั้นจะเป็นการประมวลผลที่กระทำด้วยมือหรือใช้เครื่องคำนวณช่วย ต่อมามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล โดยเฉพาะในระบบ ธุรกิจเพื่อช่วยงานประจำ เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจัดระบบสินค้าคงคลัง การทำบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน การทำใบแจ้งหนี้ ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการขาย ในการทำการประมวลผลรายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ เป็นประจำ แต่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบ สารสนเทศได้เต็มที่เพราะเอกสารส่วนมากถูกนำไปใช้เกี่ยวกับงานประจำวัน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกยอดขายประจำวัน การออกใบแจ้งหนี้ เป็นการบันทึกรายการตาง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะซ้ำ ๆ ทุกวัน มากกว่าจะใช้เพื่อการบริหาร หรือการจัดการ เพราะรายงานประจำวันนั้น ไม่ระบุสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการทราบ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่า ลูกค้าประเภทไหนชอบสินค้าชนิดใด สินค้าใดจะมีแนวโน้มที่จะขายดีมากขึ้นหรือลดลง สินค้าประเภทใดที่เป็นที่นิยมในภาคไหนTPS เป็นขั้นตอน เบื้องต้น
ในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศ แล้วส่งไปยังระดับต่อไปตัวอย่างข้อมูลที่เข้ามาในระบบประมวลผลรายการ ได้แก่ ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการขายสินค้า ระบบการจองโรงแรมห้องพัก ระบบการจองตั๋วเครื่องบิน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานลูกจ้าง หรือข้อมูลการส่งสินค้า โดยจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาเพื่อ ทำการประมวลผลโดยถือว่าระดับ ประมวลผลรายการเป็นระดับล่างสุดซึ่งในระดับนี้จำเป็นต้อง
มีการจัดการทำงานให้เป็นแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นระบบที่เก็บข้อมูลธรรมดา เพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง เช่น วันนี้มียอดขายเท่าใด รายรับรายจ่ายเท่าใด มีเงินหมุนเวียนในระบบเท่าใดหรือในคลังสินค้า สินค้าที่นำออกไปมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันระบบประมวลรายการมักนิยมใช้กับการประมวลผลแบบออนไลน์ (On – line Processing)
นั่นคือข้อมูลต่าง ๆ จะถูกประมวลผลทันทีที่เข้าสู่ระบบ มักนิยมใช้กับงานธุรกิจประจำวัน สรุปคือเป็นกิจกรรมในแต่ละวันนั่นเองโดยระบบประมวลผลรายการเป็น ตัวเชื่อมระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวหลักที่เก็บข้อมูลไว้ก่อนที่จะส่งไปยังระดับอื่น ๆ ถ้าระบบนี้ทำงานได้ไม่ดีหรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลขาดประสิทธิภาพ ก็จะเกิดผลกระทบทั้งองค์กรงานที่ได้อาจขาดความสมบูรณ์หรือเกิดความเสียหายได้ทั้งองค์กรเพราะทำให้ขาดความต่อเนื่องของงานหรือได้รับข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง งานในระดับอื่น ๆ ก็ผิดพลาดตามไปด้วย สาเหตุหนึ่งของความผิดพลาด อาจเกิดมาจากข้อมูลที่รับเข้ามาไม่สมบูรณ์เพียงพอ หรือสาเหตุเกิดจากภายในระบบประมวลผลรายการเองซึ่งถือได้ว่า ระบบประมวลผลรายการมีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรTPS มักจะทำการประมวลผลข้อมูลกับงานเฉพาะส่วนขององค์กร เช่น ฝ่ายรับสมัคร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการรับข้อมูล จัดเก็บข้อมูลไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลและทำการประมวลผลแยกกัน ผู้ใช้ระบบ TPS ได้แก่ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลพนักงานลงบัญชี พนักงานรับสั่งจอง เป็นต้น

ระยย POS (Point of sale)

ระบบ POS คืออะไร?
Point Of Sale หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า POS นั้น คือการเก็บข้อมูลการขาย และข้อมูลกาบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อมีการขายสินค้า การบริการ โดยทั่วไปแล้ว POS นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ การอ่านบาร์โค๊ต การอ่านแถบแม่เหล็ก หรือหลายๆ เทคโนโลยีผสมกัน เป็นต้น
ระบบ POS
POS คือ ระบบขายหน้าร้าน ชื่อเต็มของ POS คือ Point of sale ซึ่งหมายถึง จุดขายหรือจุดชำระเงิน ตรงแคชเชียร์ ซึ่งนำหลักการของเครื่องคิดเงิน (Cash Register) มาเขียนโปรแกรมพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ แล้วเพิ่มเติมความสามารถต่างๆที่เครื่องเก็บเงินทำไม่ได้ เช่น สามารถตัดสต็อกได้ ดูความเคลื่อนไหวต่างๆของสินค้า หรือ ระบบสมาชิก ตลอดจนดูข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ท ซึ่งความสามารถเหล่านี้ เครื่องเก็บเงินไม่สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเก็บเงินในปัจจุบัน ได้พัฒนารูปทรงให้เหมือนคอมพิวเตอร์ บางยี่ห้อทำเป็นหน้าจอระบบสัมผัสได้ แต่ข้างในยังเป็นเครื่องเก็บเงินอยู่ คือไม่มี Harddisk ถึงจะเปลี่ยนรูปทรงอย่างไร ก็ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ดี
POS เป็นโปรแกรมขายหน้าร้านโดยเฉพาะ ไม่ใช้เป็นโปรแกรมบัญชี(Accounting Software) การทำงานจะแตกต่างกัน
ระบบ POS ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ส่วนของโปรแกรม (Software) มีหน้าที่เก็บข้อมูลการขาย และ ข้อมูลสต็อกเป็นหลัก โดยยจะเก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการขายทั้งหมด เช่น ข้อมูลของสมาชิก ยอดซื้อสะสม ของลูกค้าที่มาใช้บริการในแต่ละวัน ดังนั้นโปรแกรม POS ที่ดี ควรใช้โปรแกรมฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เช่น MySQL Server , SQL Server เป็นต้น
ประเภทของโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้าน
แบบที่ 1 เป็นโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ ( POS หรือ Point of sale )
โปรแกรมประเภทนี้จะถูกออกแบบและพัฒนาโปรแกรม มาเพื่องานขายหน้าร้านโดยเฉพาะ การทำงานจะง่ายและไม่ซับซ้อน มีความหยืดหยุ่นสูงกว่า เน้นการทำงานที่รวดเร็วในการขาย
วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ หน้าตาโปรแกรมจะสบายตา ไม่เป็นตารางๆ ออกแบบหน้าตาโปรแกรมให้ใช้งานง่าย จะไม่มีคำว่า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือคำอื่นๆที่เป็นภาษาบัญชี จะมีไม่กี่บริษัทที่ทำโปรแกรม POS โดยเฉพาะ
POS เหมาะสำหรับร้านค้าทั่วไป ที่เป็นเจ้าของคนเดียว หรือ เป็นนิติบุคคล ที่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอก ทำบัญชี ส่งให้สรรพากรอีกที
แบบที่ 2 เป็นโปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน ( Accounting Software)
โปรแกรมประเภทนี้ จะใช้การหลักทำงานของโปรแกรมบัญชีทั้งหมดมาใช้กับงานขายหน้าร้าน ซึ่งโปรแกรมเก็บเงินส่วนใหญ่ในตลาดเป็นแบบนี้ ทำให้มีความยุ่งยากในการใช้งานมาก ไม่คล่องตัว มีข้อจำกัดเยอะ มีขั้นตอนในการใช้งานมาก
วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ ดูได้จากคำว่า ลูกหนี้ , เจ้าหนี้ , ใบเสนอราคา หรือ ระบบเช็คธนาคาร เป็นต้น
เหมาะสำหรับร้านค้าที่เป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับบุคลธรรมดา หรือร้านค้าขนาดเล็ก เพราะโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อ ให้มีการทำงานของหลายๆแผนก โดยเฉพาะแผนกบัญชี ที่ต้องนำข้อมูลทั้งหมดนี้ ไปทำงบการเงินส่งสรรพากรอีกที
ดังนั้นโครงสร้างของโปรแกรม จึงไม่เหมือนกัน วิธีการคิดและวิธีออกแบบโปรแกรมก็ต่างกันมาก เพราะแต่ละโปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นมา มีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน
สรุปว่า ถ้าเราเปิด ร้านค้าทั่วไป เป็นบุคคลธรรมดา แนะนำให้ใช้โปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ (POS)
ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท แต่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอกทำงบส่งสรรพากร แนะนำให้ใช้โปรแกรม (POS)
ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง แนะนำให้ใช้โปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน

2.ส่วนของอุปกรณ์ (Hardware) ซึ่งประกอบด้วย
คอมพิวเตอร์ ( POS Terminal ) เป็นตัวประมวลผล ทุกอย่างเกียวกับโปรแกรม POS
จอภาพ ( Monitor ) ที่แสดงการทำงานของโปรแกรม อาจจะเป็นจอ LCD ปกติ หรือ Touch Screen ก็ได้
เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Slip Printer) มีหน้าที่พิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า มีทั้งแบบความร้อน และ แบบหัวเข็ม
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( Barcode Scanner ) แบบ Laser มีหน้าที่อ่านรหัสแท่ง หรือ รหัสบาร์โค้ดของสินค้า
ลิ้นชักเก็บเงิน ( Cash Drawer ) สำหรับไว้เก็บเงินทอนให้กับลูกค้า จะทำงานเชื่อมกันกับ Slip Printer
จอแสดงราคา ( Customer Display ) จะแสดงราคา และ เงินทอนให้กับลูกค้า

อุปกรณ์ Hardware ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดแล้วแต่ธุรกิจ และ ความต้องการการ เช่น ร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น


Manufacturing Systems คือ

Manufacturing Systems คืออะไร

การเริ่มต้นของกรรมวิธีการผลิตสมัยใหม่ เริ่มต้นขึ้นในราวปี ค.ศ. 1800 ซึ่ง Eli Whitney ได้สร้างเครื่องปั่นฝ้ายขึ้น นอกจากนั้นในช่วงเวลานั้นเขายังได้สร้างเครื่องกัดโลหะ (milling machine) และพัฒนาเครื่องจักรอื่นๆ ขึ้นมาอีกหลายชนิด การเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนากระบวนการผลิตขึ้นในสหรัฐอเมริกา Fredderick W. Taylor ได้ทำการทดลองและวิเคราะห์ถึงแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิต และต่อมาเขาได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาเผยแพร่โดยใช้ชื่อว่า “ศิลปะในการตัดโลหะ” ในบทความของเขาได้แสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์ คือ พื้นฐานสำคัญ ของกระบวนการผลิต ต่อมาศาสตราจารย์ Myron L. Begeman ได้กระตุ้นให้มีการเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไปสู้นักศึกษาที่เรียนด้านนี้

ความหมายของการผลิต
คำว่า “การผลิต” ในภาษาอังกฤษมีการใช้คำอยู่ 2 คำคือ Manufacturing และ Production ซึ่งมีความหมายต่างกันดังนี้
1. Manufacturing หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบหรือวัสดุให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) เช่น รถยนต์ อาหารกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น
2) ผลิตภัณฑ์หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Producer Goods) คือ ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่จะนำไปผลิตต่ออีกครั้งหนึ่ง เช่น เหล็กเส้น เหล็กแผ่น ยางแผ่น อลูมิเนียมเส้น เป็นต้น
นอกจากความหมายดังกล่าข้างต้นแล้ว Manufacturing ยังรวมเอากิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตเข้าไปด้วย ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบและการจัดทำเอกสาร การเลือกวัสดุ การวางแผน การผลิต การประกันคุณภาพ การจัดการและการตลาด
2. Production หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบหรือวัสดุให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จ เช่นเดียวกันกับคำว่า Manufacturing แต่แตกต่างกันตรงที่ Production จะรวมเอางานบริการต่างๆ เข้าไปด้วย เช่น การผลิตอาหารกระป๋อง บริษัทประกันภัย บริการที่ได้รับจากโรงพยาบาลและการเข้ารับการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เป็นต้น


นิยามของการผลิต
การศึกษาเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตเราสามารถกำหนดได้เป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ กระบวนทางด้านเทคโนโลยีการผลิต (Technologic) และเศรษฐศาสตร์ของการผลิต (Economic) โดยกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีของการผลิตจะเป็นการประยุกต์กระบวนการทางกายภาพ และทางเคมีมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิต หรือคุณสมบัติของวัสดุให้เป็นชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ซึ่งกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีนี้จะรวมถึง การประกอบชิ้นส่วนเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ด้วย ดังนั้นกระบวนการที่เหมาะสมกับการผลิต จะต้องมีการผสมผสานกันที่ดีระหว่างเครื่องจักรกล เครื่องมือ ต้นกำลังและคนงาน โดยกระบวนทั้งหมดนี้ จะต้องมีการจัดลำดับของการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนตั้งแต่วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ดังรูปที่ 2.1 (ก)
สำหรับเศรษฐศาสตร์ของการผลิตจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือแปรรูปวัสดุที่ถูกป้อนเข้าไปในกระบวนการแล้วทำให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งการเพิ่มมูลค่านี้อาจจะกระทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของชิ้นงาน หรือปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงเหล็กหล่อให้เป็นเหล็กกล้า การแปรรูปทรายให้เป็นแก้ว และการแปรรูปปิโตรเลียม (Petroleum) ให้เป็นเม็ดพลาสติก จากนั้นก็นำเม็ดพลาสติกมาแปรรูปให้เป็นขวดพลาสติก เก้าอี้ หรือผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นดังรูปที่ 1.1 (ข)

(ก) กระบวนการทางด้านเทคโนโลยีการผลิต (ข) กระบวนการทางด้านเศรษฐศาสตร์การผลิต

รูปที่ 1.1 การกำหนดแนวทางทั้ง 2 ชนิดของการผลิต
(ที่มา : Mikell P. Groover. 1996.)



ประวัติความเป็นมาของการผลิต

ประวัติความเป็นมาของการผลิตสามารถแยกออกได้เป็น 2 เรื่องคือ (1) ประวัติเกี่ยวกับการค้นพบและการประดิษฐ์วัสดุรวมทั้งกระบวนของการผลิตวัสดุเหล่านั้นและ (2) การพัฒนาของระบบของการผลิต โดยที่วัสดุและกระบวนการผลิตนั้นได้มีวิวัฒนาการมายาวนานหลายพันปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการหล่อ การตีขึ้นรูปด้วยค้อนและการเจียระไน เป็นต้น ส่วนระบบของการผลิตมักจะหมายถึง แนวทางการจัดองค์กรของคน เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการผลิต ที่มีวิวัฒนาการซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

วิวัฒนาการของการผลิตในระยะเริ่มต้น
มีหลักฐานเกี่ยวกับการผลิตที่อาศัยหลักการของการแบ่งกลุ่มคนงาน (Division of Labor) โดยการแบ่งงานทั้งหมดออกเป็นงานย่อย และในแต่ละงานย่อยนั้นจะจัดให้คนงานรับผิดชอบตามกลุ่มงานนั้น ๆ เช่นในประเทศจีนเมื่อประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสต์กาล แต่หลักการของการผลิตซึ่งได้รับการยอมรับคือ หลักเศรษฐศาสตร์ของ Adam Smith [1723. – 1790.] ชาวอังกฤษที่ได้ตีพิมพ์ผลงานที่ว่าด้วยหลักการและเหตุแห่งโภคทรัพย์แห่งชาติ (Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776. และนอกจากนี้เขายังได้พัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตจากคนงาน โดยแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มผลผลิตจะขึ้นอยู่กับการแบ่งกลุ่มของคนงานและการให้ค่าจ้างกับคนงาน

วิวัฒนาการของการผลิตในช่วงแรก
วิวัฒนาการของการผลิตในช่วงแรกจะอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1760. – 1830. ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษและเป็นช่วงเวลาที่มีการประดิษฐ์เครื่องจักรชนิดต่าง ๆ มาใช้เพื่อการผลิตดังนี้
1. การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์ (Watt’s Steam Engine) ในปี ค.ศ. 1776. และมีการสร้างจริงในปี ค.ศ. 1785. ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ของเครื่องต้นกำลังสำหรับอุตสาหกรรมในขณะนั้น
2. การพัฒนาเครื่องมือกล (Machine Tools) โดย John Wilkinson ที่ได้ประดิษฐ์เครื่องคว้าน (Boring Machine) เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1775.
3. การประดิษฐ์เครื่องกรอได้ (Spining Jenny) เครื่องทอผ้า (Power loom) และเครื่องจักร อื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มผลผลิต
4. ระบบของโรงงาน (Factory System) ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ของการจัดองค์กรเพื่อการผลิตเป็นจำนวนมากโดยใช้หลักการพื้นฐานของการแบ่งกลุ่มคนงาน
วิวัฒนาการของการผลิตในประเทศอังกฤษได้แพร่หลายมายังประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น การผลิตแบบแลกเปลี่ยนชิ้นส่วน (Interchangeable Parts) ซึ่งเป็นระบบการผลิตตามแนวความคิดของ Eli Whitney. ในปี ค.ศ. 1797. โดยหลักการของ Whitney. ก็คือการผลิตชิ้นส่วนสำหรับประกอบให้มีขนาดภายใต้พิกัดความเผื่อ (Tolerance) ที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบสามารถที่จะเลือกชิ้นส่วนต่าง ๆ มากใช้งานและแลกเปลี่ยนกันได้ หลักการดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบการผลิตเป็นจำนวนมาก (Mass Production) อีกด้วย

วิวัฒนาการของการผลิตในช่วงที่สอง
วิวัฒนาการของการผลิตในช่วงนี้มีผลกระทบต่อระบบการผลิตซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นระบบการผลิตแบบเป็นจำนวนมาก
2. แนวคิดของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
3. ระบบสายงานประกอบ
4. การใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงาน
ภายหลังปี ค.ศ. 1800. เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาแนวความคิดของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Seientific Management) เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการในการวางแผนและควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีจำนวนการเติบโตของผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้เริ่มต้นแนวความคิดดังกล่าว คือ Frederick W. Taylor. [ค.ศ. 1856. – 1915.] และต่อมา Frank Gilbreath. [1868. – 1924.] และภรรยาชื่อ Lillan. [1876. – 1972.] และบุคคลอื่น ๆ อีกหลายท่านซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ สำหรับหลักการสำคัญของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
• การศึกษาการเคลื่อนไหว (Motion Study) เป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงวิธีการทำงานที่เหมาะสมที่สุด
• การศึกษาการทำงาน (Work Study) เป็นการศึกษาเพื่อหาเวลามาตรฐานสำหรับการปฏิบัติงานชิ้นหนึ่ง ๆ ซึ่งจะทำให้เราทราบเวลารวมที่จะต้องใช้ในการผลิตชิ้นงานทั้งหมด
• การยืดหรือขยายการใช้มาตรฐานในอุตสาหกรรม
• ระบบการกำหนดอัตราค่าจ้าง (Piece-rate System) เป็นการกำหนดอัตราค่าจ้าง ซึ่งควรจ่ายเป็นอัตราส่วนกับผลผลิต นั่นหมายความว่า ถ้าคนทำงานมากก็ควรได้รับค่าจ้างมากด้วย
• การใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ การเก็บบันทึกและการจัดทำบัญชีต้นทุนของการปฏิบัติงานในโรงงาน
ในปี ค.ศ. 1913. Henry Ford. ได้นำระบบการผลิตแบบสายงานการประกอบ (Assembly Line) มาติดตั้งใช้งานที่ Highland Park. มลรัฐมิชิแกน เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่มีปริมาณการผลิตมาก ซึ่งผลก็ปรากฏว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึงสี่เท่า
ปี ค.ศ. 1881. ได้มีการก่อสร้างสถานีผลิตกำลังกระแสไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองนิวยอร์คและต่อมาไม่นานก็ได้มีการนำมอเตอร์ไฟฟ้ามาเป็นต้นกำลังขับเพื่อปฏิบัติการต่าง ๆ ในโรงงานที่มีเครื่องจักรกล ซึ่งจะให้กำลังส่งและมีความสะดวกมากกว่าการใช้เครื่องจักรไอน้ำ

วิวัฒนาการของการผลิตในช่วงที่สาม
เป็นวิวัฒนาการของการผลิตซึ่งอยู่ในช่วงที่เรียกว่า “ระบบของการผลิตแบบอัตโนมัติ” (Automation of Manufacturing) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตที่ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การวิเคราะห์ การควบคุมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการผลิต หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น เป็นต้น โดยรายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงในบทต่อ ๆ ไป

อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industries)
อุตสาหกรรม หมายถึง การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าหรือการทำกิจการใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ผลออกมาแล้วมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทางด้านเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมเป็นส่วนประกอบของกิจการใด ๆ และเป็นการจัดองค์กรเพื่อการผลิต การจัดจำหน่ายและการบริการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมที่นำหรือสกัดจากธรรมชาติมาใช้
2. อุตสาหกรรมการผลิต เป็นอุตสาหกรรมที่นำวัตถุดิบมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยใช้แรงงานจากคนหรือเครื่องจักรกลเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป
3. อุตสาหกรรมเพื่อการบริการ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการในลักษณะการให้บริการ

ชนิดของการผลิต (Types of Production)

การแบ่งชนิดของการผลิตตามปริมาณของผลิตภัณฑ์ผลิตแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. การผลิตตามใบสั่ง (Job shop Production)
2. การผลิตเป็นรุ่น (Batch Production)
3. การผลิตจำนวนมาก (Mass Production)
 การผลิตตามใบสั่ง การผลิตชนิดนี้จะเป็นการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า ปริมาณการผลิตอยู่ระหว่าง 1-100 ชิ้นต่อปี การผลิตมีความแปรผันมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย ดังนั้นเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นแบบเอนกประสงค์ และมีความยืดหยุ่นที่ทำงานได้หลายอย่าง อีกทั้งจำเป็นต้องใช้พนักงานที่มีความชำนาญและทักษะสูงเพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ทุก ๆ ประเภท ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ได้แก่ เครื่องมือกล ชิ้นส่วนเครื่องบิน เครื่องมือและอุปกรณ์พิเศษ เป็นต้น 
การผลิตเป็นรุ่น เป็นการผลิตที่มีปริมาณของผลิตภัณฑ์ปานกลาง คืออยู่ระหว่าง 100 - 1,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายปานกลาง และมีบ่อยครั้งที่จำนวนของการผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อ (Order) หรือการผลิตเพื่อการจัดเก็บ (Stocked) และรอจำหน่าย สำหรับเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เพื่อการผลิตแบบเป็นรุ่นนี้จะเป็นเครื่องจักรแบบเอนกประสงค์ (General – Purpose Machine) แต่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีอัตราในการผลิตสูง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกลึงเทอเรท (Turret Lathed) ซึ่งมีป้อมมีดที่สามารถจับยึดเครื่องมือตัดที่จะใช้ได้มากกว่าเครื่องกลึงชนิดใช้งานทั่วไป และอาจจะต้องมีการออกแบบอุปกรณ์จับยึดและกำหนดตำแหน่ง (Jig & Fixture) มาใช้ร่วมกับเครื่องจักรกลเพื่อให้มีอัตราในการผลิตสูงขึ้น ตัวอย่างของการผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ได้แก่ หนังสือ เฟอร์นิเจอร์และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน เป็นต้น

การผลิตเป็นจำนวนมาก การผลิตชนิดนี้จะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง ซึ่งมีปริมาณการผลิตและความต้องการสูง คือประมาณ 10,000 - 1,000,000 ชิ้นต่อปี ผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะเป็นมาตรฐาน ดังนั้นในสายงานการผลิตจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ผลิตเป็นแบบพิเศษเฉพาะอย่าง (Special Purpose Machine) ที่มีความเที่ยงตรงและอัตราการผลิตในปริมาณสูง โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานที่มีความชำนาญและทักษะสูงเหมือนการผลิตแบบตามใบสั่ง ตัวอย่างเครื่องจักรกลในการผลิตเช่น เครื่องปั๊ม (Punch Press) เครื่องฉีดพลาสติก (Injection Molding Machine) และเครื่องผลิตสกรูอัตโนมัติ ส่วนเครื่องมือพิเศษที่ใช้กับเครื่องจักรที่กล่าวมานี้ก็ได้แก่ ชุดดาย (Die Set) โมล (Mold) และเครื่องมือตัดขึ้นรูป สำหรับตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ได้แก่ นัต สกรู แหวนรองและผลิตภัณฑ์จากโมลพลาสติก เป็นต้น

การแบ่งกลุ่มของกระบวนการผลิต
พื้นฐานของกระบวนการผลิต (Manufacturing Processes) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1. การปฏิบัติการของกระบวนการ (Processing Operation)
2. การปฏิบัติการของการประกอบ (Assembly Operation)
ปฏิบัติการของกระบวนการ จะเป็นกรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุจากขั้นตอนหนึ่ง ไปสู่อีกขั้นตอนหนึ่ง จนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้าย หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุโดยวิธีการเปลี่ยนคุณสมบัติ ส่วนปฏิบัติการของการประกอบ จะหมายถึงกระบวนการที่จะทำให้ชิ้นส่วนตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาประสาน หรือต่อเข้าด้วยกัน

1. การปฏิบัติการของกระบวนการ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัสดุชิ้นงานจากขั้นตอนหนึ่ง ไปยังอีกขั้นตอนหนึ่งจนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้าย ซึ่งการปฏิบัติการของกระบวนการนี้จะใช้พลังงานเพื่อทำให้วัสดุชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง คุณสมบัติทางกายภาพหรือการทำให้เกิดมูลค่ากับวัสดุ ส่วนพลังงานอาจจะได้จากเครื่องจักรกล ความร้อน ไฟฟ้าและเคมี โดยพลังงานจะถูกประยุกต์เพื่อใช้ในการควบคุมเครื่องจักรกลและเครื่องมือด้วย และนอกจากนี้ยังจำเป็นต้องใช้พลังงานจากคนงานซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมเครื่องจักรกล หรือควบคุมขั้นตอนการผลิตและการนำชิ้นส่วนเข้า-ออกจากเครื่อง ก่อนและหลังการปฏิบัติในแต่ละรอบงานอีกด้วย ในรูปที่ 1.3 แสดงรูปแบบโดยทั่วไปของการปฏิบัติการของกระบวนการ



รูปที่ 1.3 แสดงรูปแบบโดยทั่วไปของการปฏิบัติการของกระบวนการ
(ที่มา : Mikell P. Groover. 1996.)

จากรูปที่ 1.3 วัสดุจะถูกป้อนเข้าไปในกระบวนการ ซึ่งพลังงานจะถูกประยุกต์ใช้โดยเครื่องจักรกลและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจะทำการเปลี่ยนแปลงวัสดุไปเป็นชิ้นส่วนที่สมบูรณ์ และจากรูปเราจะเห็นว่าในการปฏิบัติการของกระบวนการผลิตนั้นจะทำให้เกิดเศษวัสดุ (Scrap) และของเสีย (Waste) ขึ้น ดังนั้นจุดประสงค์หนึ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิตคือจะต้องพยายามลดของเสียและเศษวัสดุให้เหลือน้อยที่สุด
ในการปฏิบัติการของกระบวนการ โดยปกติมักจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการที่มากกว่าหนึ่งกระบวนการ เพื่อที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นำวัสดุเข้าจนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ในขั้นสุดท้าย ซึ่งกระบวนการจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปร่างของชิ้นงานที่ต้องการและเงื่อนไขที่ถูกกำหนดโดยฝ่ายออกแบบ การปฏิบัติการของกระบวนการแบ่งออกได้เป็น 3 กระบวนการดังนี้
1.1 กระบวนการขึ้นรูป
1.2 กระบวนการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ
1.3 กระบวนการตกแต่งผิว

1.1 กระบวนการขึ้นรูป โดยส่วนมากแล้วกระบวนการขึ้นรูปจะเป็นการนำความร้อน และแรงจากเครื่องจักรกลหรือทั้งสองรวมกันมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปทรงของชิ้นส่วน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
• การหล่อ การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ และกระบวนการอย่างอื่นที่มีลักษณะการเริ่มต้นด้วยการทำให้วัสดุร้อนจนกลายเป็นของเหลวและกึ่งของเหลว
• กระบวนการขึ้นรูปวัสดุผง
• กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
• กระบวนการตัดเนื้อวัสดุออก


1.2 กระบวนการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ เป็นกระบวนการลำดับที่สองที่ต่อเนื่องจากกระบวนการขึ้นรูป โดยการทำให้วัสดุชิ้นงานมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติทางกลหรือคุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของวัสดุชิ้นงานแต่อย่างใด เช่น กระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อน (Heat Treatments) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการอบอ่อน (Annealing) และกระบวนการชุบแข็ง (Hardening) วัสดุจำพวกโลหะ เป็นต้น

1.3 กระบวนการตกแต่งผิว การปฏิบัติการของกระบวนการตกแต่งผิวจะประกอบด้วย การทำความสะอาด การปรับปรุงและการเคลือบหรือกระบวนการเคลือบด้วยฟิล์มบาง โดยกระบวนการทำความสะอาดนี้อาจจะทำได้ทั้งกระบวนการทางเคมีและกระบวนการทางกล เพื่อขจัดสิ่งสกปรก น้ำมันหรืออื่น ๆ ออกจากผิวของวัสดุ ส่วนกระบวนการปรับปรุงผิว ประกอบด้วย กระบวนการทำงานทางกล เช่น การพ่นเม็ดเหล็ก (Shot Peening) และการพ่นเม็ดทราย (Sand Blasting) เป็นต้น กระบวนการเคลือบและกระบวนการเคลือบด้วยฟิล์มบางนั้น จะถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการเคลือบผิวของชิ้นส่วน เช่น การชุบผิวด้วยไฟฟ้า (Electroplating) การชุบผิวอะลูมิเนียม (Anodizing) และการเคลือบผิวด้วยอินทรีย์วัตถุที่เรียกว่า “การพ่นสี” (Painting) เป็นต้น การเคลือบผิวมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ป้องกันการกัดกร่อน การทำให้เกิดสี ป้องกันการสึกหรอและการเตรียมผิวเพื่อไปยังลำดับขั้นต่อไปของกระบวนการ
การเคลือบผิวเป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้มากสำหรับวัสดุจำพวกโลหะ และในบางกรณีจะถูกนำมาใช้บนกระบวนการประกอบด้วย เช่น การเชื่อมประกอบตัวถังของรถยนต์ ซึ่งจะต้องมีการพ่นสี และทำการเคลือบผิวอีกครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากนี้กระบวนการเคลือบยังถูกนำไปปรับใช้กับงานเคลือบวัสดุที่เป็นกึ่งตัวนำไฟฟ้า (Semi Conductor) ในแผงวงจรร่วม (Integrated Circuits : IC) ของชิ้นส่วนสำหรับงานไมโครอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย

2. การปฏิบัติการของการประกอบ (Assembly Operation)
พื้นฐานของการผลิตชนิดที่สองของกระบวนการผลิตคือ การประกอบ ซึ่งเป็นกระบวนการนำชิ้นส่วนตั้งแต่สองชิ้นหรือมากกว่ามาต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดรูปลักษณ์แบบใหม่ (Entity) ขึ้นมา โดยกระบวนการของการประกอบแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
2.1 กระบวนการต่อแบบถาวร (Permanent) ประกอบด้วย การเชื่อม การบัดกรีแข็ง การบัดกรีอ่อนและการต่อด้วยสารเคมีหรือวัสดุประสาน (Adhesive Bonding) เป็นต้น
2.2 กระบวนการประกอบทางกล (Mechanical Assembly) เป็นกระบวนการต่อชิ้นส่วนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถถอด-ประกอบได้ เช่น การประกอบด้วย สกรู โบล์ต นัต การจับยึดด้วยเกลียว (Threaded Fasteners) โดยวิธีอื่น ๆ การย้ำหมุดและการประกอบด้วยการสวม (Fitting) เป็นต้น
นอกเหนือจากการปฏิบัติการของกระบวนการและการประกอบแล้ว ในกระบวนการผลิตยังจำเป็นต้องมีระบบสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การผลิตผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย
1. การขนถ่ายและจัดเก็บวัสดุ (Material Handling and Storage)
2. ตรวจสอบและการทดสอบ (Inspection and Testing)
3. การควบคุม (Control)

Grey Hat คืออะไร

Grey Hat คืออะไร Grey Hat คือ Hacker ที่มีทั้งด้สนดีและไม่ดีอยู่ภายในตัว อาจมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีหรือป้องกันระบบโดยขึ้นอยู๋กับสถานการณ...