วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

Grey Hat คืออะไร

Grey Hat คือ Hacker ที่มีทั้งด้สนดีและไม่ดีอยู่ภายในตัว อาจมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีหรือป้องกันระบบโดยขึ้นอยู๋กับสถานการณ์ Grey Hat จึงเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างHacker และ Cracker บางครั้งพวกเค้าจะเจาะระบบเข้าไปแต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือบางครั้งอาจนำข้อมูเลหล่านั้นไปแบ่งปันกันในชุมชนออไลน์ต่างๆแต่ก็มีไม่น้อยที่ประสงค์ดีแจ้งข้อมูลหรือช่องโหว่ต่างๆ ที่พบไปให้กับทางผู้ผลิตโปรแกรมเพื่อให้ทำการแก้ไข

ในมุมมองที่ต่างกัน คนบางคนอาจจะมองว่าการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการ Hacking เป็นความผิดในตัวมันเอง แต่หากมองในมุมมองที่ว่าเป็นการ Hacking ที่มีจริยธรรมจะทำให้บริษัทหรือระบบเหล่านั้นทราบถึงจุดแข็งจุดอ่อนที่มี แลพทำให้สามารถวางแผนในการพัฒนาระบบต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถแก้ไขระบบได้อย่างถูกต้อง รวมถึงค้นพบต้นเหตุของปัญหาได้อีกด้วย

แต่บริษัทหลายแห่งกลับมองในแง่ลบ ไมสนใจคำเตือนที่ได้รับ เพียงอาจบอกแค่ว่า " ขอบคุณสำหรับคำเตือน แต่เราจะแก้ไขปัญหานี้เอง " แล้วเรียกตำรวจไปจับHacker เหล่านั้นแทน เพราะในมุมมองที่แตกต่างกันนี้เอง ที่ทำให้Hacker ที่มีจริยธรรมหลายคนพยายามจะฉีกตัวเองไปเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการรักษาตวามปลอดภัยของระบบเครือข่าย ซึ่งได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า รวมถึงการป้องกันตนเองจากกฏหมายแทน หรือกระทั่งบางคนถึงขั้นเปลี่ยนขั้วในการทำงาน และอาจนำข้อมูลที่ได้ไปขายเพื่อแก้แค้นแทนก็เป็นได้

Black Hat คืออะไร

Black hat คือ Hacker ผู้ไม่ประสงค์ดีอย่าเรียกอีกชื่อว่า Cracker เป็นผู้ที่ใช้ความเชี่ยวชาญการเจาะรับบในทางที่ผิด โดนมีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปขโมย เปลี่ยนแปลงหรือทำลายข้อมูลของระบบเป้าหมายให้สำเร็จ ในส่วนของการขโมยข้อมูลปัจจุบันสามารถนำออกไปขายให้กับบริษัทคู่แข่ง หรือใช้เป็ยยข้อต่อรองเพื่อเรียกค่าไถ่กับผุ้ตกเป็นเหยื่ออีกด้วย การแยกแยะระหว่าง Black Hat กับ White Hat ทำได้ง่านเพราะมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันชัดเจน

Hacker คืออะไร

Hacker คืออะไร
     Hacker คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ  จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย  แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้ ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น 

      วิธีการที่ Hacker และ Cracker ใช้เข้าไปก่อกวนในระบบ Internet มีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากมี 3 วิธี ดังนี้
1.Password Sniffers เป็นโปรแกรมเล็กๆที่ซ่อนอยู่ในเครือข่าย และถูกสั่งให้บันทึกการ Log on และรหัสผ่าน (Password) แล้วนำไปเก็บในแฟ้มข้อมูลลับ
2. Spooling เป็นเทคนิคการเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะทางไกล โดยการปลอมแปลงที่อยู่อินเนอร์เน็ต (Internet Address) ของเครื่องที่เข้าได้ง่ายหรือเครื่องที่เป็นมิตร เพื่อค้นหาจุดที่ใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยภายใน วิธีการคือ การได้มาถึงสถานภาพที่เป็นแก่นหรือราก (Root) ซึ่งเป็นการเข้าสู่ระบบขั้นสูงสำหรับผู้บริหารระบบ เมื่อได้รากแล้วจะสร้าง Sniffers หรือโปรแกรมอื่นที่เป็น Back Door ซึ่งเป็นทางกลับลับๆใส่ไว้ในเครื่อง
3. The Hole in the Web เป็นข้อบกพร่องใน World -Wide-Web (WWW ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Website จะมีหลุมหรือช่องว่างที่ผู้บุกรุกสามารถทำทุกอย่างที่เจ้าของ Site สามารถทำได้

ฺBitcoin คืออะไร?

Bitcoin คืออะไร

Bitcoin คือ สกุลเงินดิจิตอล ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของระบบเน็ตเวิร์คคอมพิวเตอร์

หากคุณต้องการถามเหตุผลว่าทำไมถึงต้องใช้ bitcoin และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ bitcoin คืออะไร กรุณาคลิกที่นี่
แต่หากคุณต้องการทราบว่า bitcoin เกิดและทำงานอย่างไร กรุณาอ่านข้อความด้านล่างต่อไปนี้

ขออธิบายตัวอย่างดังนี้

คุณขายเครื่องดื่ม และ ได้รับเงิน 1000 บาท คุุณไปที่ธนาคารและเปิดบัญชีเงินฝาก
คุณฝากเงิน 1000 บาท นั้น ธนาคารบันทึกลงในระบบของธนาคารและในสมุดบัญชีว่าคุณมีเงิน 1000 บาท ในบัญชีของคุณ
แต่ bitcoin ทำงานต่างจากระบบข้างต้น
คุณดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ bitcoin wallet ซึ่งโปรแกรมจะสร้าง address หรือเรียกง่ายว่า สร้างเลขที่บัญชีของคุณ โดยเป็นของคุณโดยเฉพาะ และเวลาคุณขายเครื่องดื่มได้ ผู้ซื้อจ่าย bitcoin มาให้ยัง bitcoin address ของคุณ
ถ้าจะเทียบเคียง bitcoin wallet คือ สมุดบัญชี
Address คือ เลขที่บัญชีธนาคาร
Block chain คือ ไฟล์ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการฝากถอนเงินของทุกๆคน
Bitcoin คือ ธนบัตร
ซึ่งหากเป็นธนาคาร ธนาคารจะบันทึกข้อมูลคุณไว้ในระบบของธนาคาร แต่ว่า ระบบของ bitcoin จะถูกบันทึกไว้ในระบบชื่อว่า “Block Chain” ซึ่ง Block Chain จะมีข้อมูลของทุกรายการธุรกรรม ที่เคยเกิดขึ้นทั้งหมด
สำหรับธนบัตรโดยปกติ จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล และแจกจ่ายโดยธนาคาร
แต่ Bitcoin เกิดแตกต่างกัน, Bitcoin เกิดจากการคำนวณ และ แจกจ่ายให้กับ “miners” , ซื่ง “miners” คือ บุคคลที่ run Bitcoin mining software บนคอมพิวเตอร์ของ miners, โดย mining software จะทำงานและนำรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นผ่าน network และใส่เข้าไปใน block chain โดยบุคคลที่ run Bitcoin mining software จะทำให้คุณได้รับ Bitcoin
ถ้าพูดไปแล้วเหมือนเป็นสิ่งที่ง่ายในการได้รับ bitcoin แค่เพียง run mining software บนคอมพิวเตอร์คุณตลอดเวลา แต่ว่าจำนวนของ miners ก็มีมากขึ้นตามลำดับ ทำให้โอกาสในการได้รับ bitcoin ก็ยากขึ้น

ค่าธรรมเนียม Bitcoin

ปกติเวลาคุณโอนเงินไปยังธนาคารต่างๆ หรือชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ธนาคารจะทำการเก็บค่า ธรรมเนียมจากผู้ที่ได้รับเงินนั้น
ดังนั้น เมื่อคุณตกลงว่าคุณจะให้ค่าธรรมเนียม แก่ miners ที่ทำรายการธุรกรรมให้คุณเท่าไหร่แล้ว หรือคุณเลือกที่จะไม่ให้ค่าธรรมเนียมเลยก็ได้ แต่ ค่าธรรมเนียมนี้จะถูกจ่ายให้กับ miner ที่ทำ รายการธุรกรรมให้คุณ
ดังนั้น ถ้าคุณกำหนดค่าธรรมเนียม ที่จะให้แก่ miner มากเท่าไหร่ การธุรกรรมของคุณก็จะยิ่งเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น และ ทุกรายการการทำธุรกรรม ก็จะถูกบันทึกไว้ใน block chain นั่นเอง

Data processing

การประมวลผลข้อมูล (Data processing)

          ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ช่วยในการทำงานก่อให้เกิดประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์อ้างอิงและตัวสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่าง ๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถและขยายขอบข่ายการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะสามารถตอบสนิงความต้องการในขั้นตอนของระบบการประมวลผลข้อมูล หรือที่เรียกว่า "การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์" ( Electronic Data Processing : EDP )
          การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หรือกรรมวิธีข้อมูล เป็นวิธีการที่ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปที่กระทัดรัด มีความหมาย และสะดวกต่อการใช้ การค้นหา

          1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
               ขั้นตอนในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือการนำข้อมูลเข้า (Input Data), การประมวลผล (Processing), และการนำเสนอข้อมูล (Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน สามารถเรียกกรรมวิธีนี้ว่า "วงจรการประมวลผล (Data Processing Cycle)"




               1.1 การนำข้อมูลเข้า (Input Data)
                      ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมและสะดวก ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปประมวลผลซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้โดยผ่านคีย์บอร์ด (Keyboard) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ป้อนข้อมูลได้ (Input Devices) ซึ่งข้อมูลที่นำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์จะนำเข้าผ่านตัวเชื่อมต่อ (connector) ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า Port Port ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ๆ




                1.2 การประมวลผล (Processing)
                       เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลที่ถูกส่งมาทางอุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปทำการประมวลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ อาจจะเป็นการคำนวนทั่ว ๆ ไป คือ การบวก การลบ การคูณ และการหาร, การเปรียบเที่ยบ, การจัดกลุ่มข้อมูล, การรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นต้น




                  1.3 การนำเสนอข้อมูล (Output Data)
                         เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะมีการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้อื่นทราบ โดยข้อมูลที่นำออกจากระบบคอมพิวเตอร์จะถูกส่งข้อมูลผ่านตัวเชื่อมต่อ (connector) ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบของผลลัพธ์สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น รายงาน, กราฟ, ตาราง, เป็นต้น

CSR คือ

CSR คือ ?


ความหมายของ CSR
          “Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี 
โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"


ระดับของ CSR
ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้
                            เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, 
                            กฎหมายเเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น
 
ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถใน
                            การอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิด
                            จากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่
                            ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบ
                            แทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะ
                            ได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ


ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทาง
                            ของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจ
                            อยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

          ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไป
ให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลัก
พอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม
 


ประเภทของ CSR

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อม
                             ขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, 
                             ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยว
                             กับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,
                             การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร 
                              เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ


หลักแนวคิดของ CSR

     1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
     2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
     3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
     4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
     5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
     6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
     7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
     8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม

Carbon footprint คือ


Carbon Footprint


     หลายท่านหากซื้อสินค้าที่มาจากทางยุโรป อาจจะคุ้นเคยกับคำนี้บ้างแล้ว เพราะได้มีการประกาศให้มีการเริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา แล้วเจ้าคำแปลกๆ คำนี้มันคืออะไร และมีผลต่อชีวิตเราอย่างไร ถึงจำเป็นที่จะต้องมาทำการรู้จัก ขอให้อ่านบทความนี้ต่อไป แล้วจะทราบว่าเจ้าคำนี้จะมีผลต่ออนาคตของพวกเราอย่างไร
     คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนกระทั่งถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยทำการคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
     สาเหตุของการเกิดสภาวะโลกร้อน สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งทั่วโลกได้พยายามแก้ปัญหาโดยการประชาสัมพันธ์ให้มีการแสดงข้อมูล 

Simulation


Introduction: Parallel & Distributed Simulation Systems


หลักการทำงานพื้นฐานของระบบ Simulation
Simulation  คือ การนำเสนอหรือการจำลองลักษณะของระบบอื่นๆตลอดช่วงเวลาที่สนใจ ซึ่งในกรณีที่กล่าวถึง Computer simulation จะหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำลองการทำงานของระบบที่สนใจ

Computer Simulation Fundamental
1)     Computer Simulation คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำลองลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่สนใจตลอดเวลาหรือเฉพาะช่วงเวลาที่ให้ความสนใจ
2)     Program variables หรือ State variables เป็นตัวแปรซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในการแสดงถึงสถานะปัจจุบันของระบบที่จำลอง
3)     Simulation Program จะปรับเปลี่ยนค่าของ state variable เพื่อที่จะพัฒนาแบบจำลองไปตามช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
4)     รูปแบบของเวลาที่มีการใช้งานในระบบ Simulation
·      เวลาที่ระบบต้นแบบใช้ในการทำงาน ( Physical Time ) คือ เวลาที่ระบบต้นแบบหรือระบบจริงใช้ในการทำงานดังกล่าวที่จะนำมาทำเป็นแบบจำลองจริง เช่น การทำแบบจำลองเพื่อแสดงการขึ้น-ลงของเครื่องบินตั้งแต่เวลาเที่ยงวันที่ 14 มกราคม 2545 จนกระทั่งถึงเวลาเที่ยงของวันที่ 15 มกราคม 2545 จะได้ว่า ช่วงเวลาตั้งแต่เวลาเที่ยงวันที่ 14 มกราคม 2545 จนกระทั่งถึงเวลาเที่ยงของวันที่ 15 มกราคม 2545 เป็นเวลาของ Physical Time
·      เวลาที่เลื่อนไปในแบบจำลอง ( Simulation Time ) คือ เวลาที่แบบจำลองใช้ในการทำงานเพื่อจำลองระบบ ซึ่งเวลาดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กับเวลาที่ระบบต้นแบบใช้ในการทำงานจริง ( Physical Time ) เช่น เวลาในแบบจำลองเป็น 9.0 จะหมายถึงเวลา 9.00 น. ในระบบจริง และหนึ่งหน่วย ( 1.0 ) ของเวลาที่เลื่อนไปในแบบจำลองจะหมายถึงเวลา 1 ชั่วโมงที่เลื่อนไปในระบบจริง
·      เวลาที่เลื่อนไปในความเป็นจริง ( Wallclock Time ) คือ เวลาที่เลื่อนไปในความเป็นจริง ( เหมือนกับเวลาที่แสดงโดยนาฬิกา ) ในระหว่างที่แบบจำลองมีกำลังทำงาน เช่น แบบจำลองเริ่มต้นทำงานที่เวลา 10.00 น. จนกระทั่งถึงเวลา 12.00 น. ในวันที่ 10 มกราคม 2545
5)     ลักษณะการทำงานของระบบ Simulation เมื่อแบ่งตามเวลาในการทำงาน จะมี 3 รูปแบบ คือ
·            As-fast-as-possible execution คือ การทำงานของแบบจำลองจะทำงานไปด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่สัมพันธ์เวลาที่เลื่อนไปในโลกของความเป็นจริง หรือ การทำงานจะไม่ขึ้นกับเวลาที่ใช้ในการทำงาน  ( แต่ยังคงสัมพันธ์กับเวลาที่ระบบต้นแบบใช้ในการทำงาน )
·            Real time execution คือ การทำงานของแบบจำลองจะมีความสัมพันธ์กับเวลาจริงที่ใช้ในการทำงานของแบบจำลอง เช่น โปรแกรมหรือแบบจำลองใช้เวลาในการทำงานตามความเป็นจริงไปเป็นเวลา 15 นาที ดังนั้นเวลาที่เลื่อนไปในแบบจำลองก็จะเท่ากับ 15 นาทีด้วย
·            Scalable real-time execution คือ การทำงานจะมีความสัมพันธ์กับเวลาจริงที่ใช้ในการทำงานในลักษณะที่เป็นอัตราส่วนต่อกัน ในกรณีที่อัตราส่วนมีค่ามากกว่าหนึ่ง แบบจำลองก็จะทำงานได้เร็วกว่าระบบจริง , ในกรณีที่อัตราส่วนมีค่าน้อยกว่าหนึ่ง ( อัตราส่วนจะไม่ต่ำกว่า 0 ) แบบจำลองจะทำงานได้ช้ากว่าระบบจริง และในกรณีที่อัตราส่วนเท่ากับหนึ่งระบบจะทำงานแบบ Real-time execution เช่น อัตราส่วนในการทำงานเท่ากับ 2 ดังนั้นเมื่อแบบจำลองทำงานไปเป็นเวลา 15 นาที เวลาที่ถูกเลื่อนไปในแบบจำลองก็จะเท่ากับ 2 x 15 หรือ 30 นาที เป็นต้น










 



Computer Simulation Taxonomy

       Computer Simulation Taxonomy เป็นการกล่าวถึงลักษณะการทำงานของ Computer Simulation ซึ่งสามารถที่จะแบ่งการทำงานออกมาเป็นลักษณะหรือวิธีการทำงานย่อยได้ดังรูป

        รูปที่ 2 แผนภาพ Computer Simulation Taxonomy [2]

        จากรูป วิธีการหรือลักษณะการทำงานของ Computer Simulation สามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้คือ
1)     Continuous time simulation เป็นระบบที่จำลองโดยการให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงในแบบจำลองตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มต้นทำงานจนสิ้นสุดการทำงาน ไม่ว่าระหว่างการทำงานของแบบจำลองจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นก็ตาม ซึ่งลักษณะของแบบจำลองที่ได้มักจะขึ้นกับสมการที่จะนำมาใช้ในการอธิบายแบบจำลอง แบบจำลองที่เหมาะสมกับการทำงานแบบนี้มักจะเป็นแบบจำลองที่ต้องการความต่อเนื่องในการทำงาน เช่น แบบจำลองของเครื่องบินที่ใช้แสดงการบินของเครื่องบิน
2)     Discrete time simulation เป็นระบบที่การจำลองโดยการให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเป็นช่วงของเวลาที่ไม่ต่อเนื่อง คือไม่ต้องเก็บข้อมูลตลอดเวลาที่จำลองการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นรูปแบบย่อยๆได้ 2 รูปแบบ คือ



·     

Event stepped เป็นแบบจำลองที่จะสนใจต่อเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการเลื่อนไปของเวลาที่ใช้ในแบบจำลองจะขึ้นอยู่กับการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ หากมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจึงจะมีการเลื่อนไปของเวลา แบบจำลองที่มีความเหมาะสม เช่น แบบจำลองของสนามบินอย่างง่ายซึ่งจะสนใจการขึ้นและลงของเครื่องบิน นั้นคือจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเครื่องบันมีการบินขึ้นและบินลงในสนามบิน




·       Time stepped เป็นแบบจำลองที่จะเก็บข้อมูลเป็นช่วงๆของเวลา ดังนั้นเวลาที่จะใช้ในการทำงานจะมีการเลื่อนไปด้วยอัตราคงที่ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของแบบจำลอง เช่น แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำของทะเล ซึ่งจะเก็บการเปลี่ยนแปลงทุกๆครึ่งชั่วโมง

Parallel / Distributed Simulation
Parallel/Distributed Simulation คือ เทคโนโลยีที่ทำให้สามารถที่จะสร้างแบบจำลองเพื่อที่จะนำมาทำงานโดยใช้ระบบ Multiprocessors หรือการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัวมาทำงานร่วมกันได้ ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1)     Tightly Coupled Multiprocessors System เป็นระบบที่ทำงานแบบ Parallel Simulation ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อกันของหน่วยประมวลผลอย่างใกล้ชิดกัน การทำงานในรูปแบบนี้สามารถที่จะแบ่งแยกเป็น 2 รูปแบบย่อยๆ ตามลักษณะการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำได้ดังนี้คือ
·      Share Memory Multiprocessors เป็นระบบที่จะแบ่งส่วนของ memory มาเพื่อใช้งานร่วมกันโดยหน่วยประมวลผลหลายตัว ดังนั้นส่วนของ memory จึงเป็นทรัพยากรของส่วนกลางที่จะนำมาแบ่งใช้งานร่วมกัน ไม่ได้เป็นของหน่วยประมวลผลตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ





·      Distributed Memory Muticomputers เป็นระบบที่จะแบ่งการทำงานไปให้หน่วยประมวลผลต่างๆช่วยกันทำงานโดยที่หน่วยประมวลผลแต่ละตัวจะมี memory เป็นของตัวเอง ไม่ได้แบ่งกันใช้งานร่วมกัน แต่ว่าหน่วยประมวลผลตัวอื่นๆก็ยังสามารถที่จะเข้ามาขอข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ใน memory ได้โดยการขอข้อมูลผ่านหน่วยประมวลผลได้เช่นกัน



2)     Loosely Coupled Multiprocessors System เป็นระบบที่ทำงานแบบ Distributed Simulation ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อของหน่วยประมวลผลที่สามารถตั้งอยู่ในที่ต่างๆกระจายกันได้ โดยจะเชื่อมต่อกันผ่านระบบ Network เช่น Internet เป็นต้น

การเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของ Parallel กับ Distributed Simulation
ลักษณะทางกายภาพของระบบ Parallel และ Distributed Simulation มีความแตกต่างกันดังนี้ คือ
1)   Physical extent หรือพื้นที่ในการทำงาน
·      สำหรับ Parallel Simulation มีพื้นที่ในการทำงานเป็นแบบ Machine Room คือ สามารถทำงานได้เฉพาะในห้องที่ติดตั้งระบบ ซึ่งระบบทั้งหมดจะต้องติดตั้งในห้องเดียวกัน ดังนั้นจึงมีพื้นที่ในการทำงานที่แคบและจำกัด เนื่องจากความสามารถของระบบเชื่อมต่อที่ใช้งาน
·      สำหรับ Distributed Simulation มีพื้นที่ในการทำงานเป็นแบบ Global คือ สามารถทำงานได้ในบริเวณที่กว้างขวาง เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานสามารถแยกกระจายกันอยู่ได้ โดยใช้ระบบเชื่อมต่อที่รองรับการทำงานในระยะไกล ดังนั้นจึงสามารถทำงานได้แม้ว่าจะห่างไกลกันมากแค่ไหนก็ตาม
2)   Processors หรือหน่วยประมวลผลที่นำมาใช้งาน
·      สำหรับ Parallel Simulation มีหน่วยประมวลผลเป็นแบบ Homogenous คือ หน่วยประมวลผลที่นำมาใช้งานร่วมกันจะต้องเป็นหน่วยประมวลผลที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ นั้นคือต้องเป็นหน่วยประมวลรุ่นเดียวกันทั้งหมดในการทำงาน
·      สำหรับ Distributed Simulation มีหน่วยประมวลผลเป็นแบบ Heterogeneous คือ หน่วยประมวลผลที่นำมาใช้งานสามารถมีความแตกต่างกันได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นเดียว หรือผลิตจากบริษัทเดียวกัน
3)   Communication Network หรือตัวกลางในการเชื่อมต่อระบบ
·      สำหรับ Parallel Simulation ใช้ตัวกลางในการเชื่อมต่อแบบ Custom switch คือ Switch ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะ สำหรับระบบคอมพิวเตอร์นั้นๆ
·      สำหรับ Distributed Simulation ใช้ตัวกลางในการเชื่อมต่อแบบ Commercial LAN/WAN คือ สามารถที่จะนำมาใช้งานได้โดยระบบเน็ตเวิร์คที่มีการใช้งานอยู่โดยทั่วไป
4)   Communication Latency หรือเวลาที่สูญเสียไปเพื่อใช้ในการติดต่อระหว่างกัน
·      สำหรับ Parallel Simulation ใช้เวลาในการติดต่อน้อยมากเนื่องการการเชื่อมต่อของหน่วยประมวลผลอยู่ในพื้นที่จำกัด ดังนั้นเวลาที่ใช้ในการติดต่อจะอยู่ในระดับไม่กี่มิลลิวินาทีจนถึงระดับสิบมิลลิวินาที
·      สำหรับ Distributed Simulation ใช้เวลาในการติดต่อนานซึ่งจะอยู่ในระดับตั้งแต่หลายร้อยมิลลิวินาทีจนถึงระดับวินาที เนื่องจากการติดต่อจะมีระยะทางที่ห่างไกลกัน ( สาเหตุที่ถือว่าใช้เวลานานเนื่องจากหน่วยประมวลผลมีความรวดเร็วในการทำงานสูงดังนั้นเวลาเพียงเล็กน้อยก็สามารถที่จะทำงานได้มาก )

ความจำเป็นที่จะต้องนำระบบ Distributed Simulation มาใช้งาน
        ความจำเป็นที่จะต้องนำระบบ Distributed Simulation มาใช้งานเนื่องจากเหตุผลต่างๆดังนี้ คือ
1)          ลดเวลาที่ใช้ในการคำนวณ ( Reduce model execution time ) เนื่องจากสามารถที่จะแบ่งย่อยงานไปให้หน่วยประมวลผลหลายๆตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสามารถลดลงได้ถึง N เท่า สำหรับการใช้งานหน่วยประมวลผล N ตัว
2)          มีประสิทธิภาพที่ดีในเรื่องของขนาดของงาน ( Scalable Performance ) คือสามารถที่จะทำงานได้ด้วยความเร็วในระดับที่คงที่ถึงแม้ว่างานที่ทำจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเนื่องจากสามารถที่จะแบ่งย่อยงานไปให้หน่วยประมวลผลหลายๆตัวช่วยกันทำงานได้ ( เพิ่มจำนวนของหน่วยประมวลผลที่จะนำมาใช้งาน )
3)          สามารถที่จะใช้งานทรัพยากรต่างๆหรือทำงานร่วมกับผู้ใช้งานอื่นๆในสถานที่ที่ห่างไกลกันได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากสามารถที่จะกระจายการทำงานไปยังสถานที่ต่างๆได้โดยไม่จำกัด ถ้าสถานที่นั้นเชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์คได้
4)          สามารถที่นำมาใช้งานบน Platform ของ OS ที่แตกต่างกันได้ ทำให้เกิดความสะดวกเนื่องจากไม่ต้องนำข้อมูลมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ Platform ใหม่เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้
5)          มีระบบในการป้องกันความเสียหาย ( Fault Tolerance ) ซึ่งทำให้สามารถที่จะทำงานต่อได้ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งที่ทำงานร่วมกันเกิดความเสียหาย

Grey Hat คืออะไร

Grey Hat คืออะไร Grey Hat คือ Hacker ที่มีทั้งด้สนดีและไม่ดีอยู่ภายในตัว อาจมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีหรือป้องกันระบบโดยขึ้นอยู๋กับสถานการณ...